Category: Uncategorized

Asst. Prof. Dr. Saroj Rujisanksakul, Lecturer of Department of Plant Science, Invited to be a special lecturer on the taxonomy and evolution of plants in Balsaminaceae, Zingiberacae, Orchidaceae, arrowroot flour and Stephania sp.nova. at Burapha University.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเกี่ยวกับอนุกรมวิธานและวิวัฒนาการของพืชวงศ์เทียน วงศ์ขิง กล้วยไม้ แป้งเท้ายายม่อม และบัวหิน ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพรวมของงานด้านอนุกรมวิธานตั้งแต่ในห้องปฏิบัติการไปสู่ชุมชนและภาคเอกชน จากท้องถิ่นสู่ระดับสากล และการขับเคลื่อนนโยบาย ในการนี้ ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้เข้าร่วมรับฟัง และนำนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ด้วย แหล่งที่มา: click

วุฒิภัทร อินทร์ทองคำ ทีมวิจัยจากมหิดลที่เดินทางไปยังศูนย์วิจัยและเทคโนโลยีอวกาศของยุโรป (ESTEC) ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์

ที่มา: click วุฒิภัทร อินทร์ทองคำ (จินหลง – ยืนที่ 3 จากซ้าย) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยจากมหิดลที่เดินทางไปยังศูนย์วิจัยและเทคโนโลยีอวกาศของยุโรป (ESTEC) ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นำโดย ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ เพื่อทดลองนำ #ไข่น้ำ หรือ #ผักผำ (#Wolffia) พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกมาศึกษาชีววิทยาในสภาพอวกาศ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการเพาะปลูกพืชอาหารในการเดินทางระหว่างดาวต่อไปในอนาคต

ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล และผู้ร่วมวิจัยชาวพม่า Dakaw Phong San รายงานพืช new record ในพม่า Impatiens latiflora Hook.f. & Thomson

ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ร่วมกับผู้ร่วมวิจัยชาวพม่า Dakaw Phong San รายงานพืช new record ในพม่า Impatiens latiflora Hook.f. & Thomson ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูฐานถึงอินเดีย โดยพืชชนิดดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากพืชสกุลเทียนชนิดอื่นในพม่าโดยการที่มีกลีบดอกระนาบแบนสีชมพูดคล้านเทียนกลุ่มเทียนดอย Impatiens violiflora Hook.f. แต่มีการออกดอกเป็นช่อยาว มีดอก 2-6 ดอก ต้นสูงได้ถึง 60 ซม. พืชดังกล่าวมีการกระจายพันธุ์กว้างและพบจำนวนมากอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงสูญพันธุ์น้อยที่สุด…

นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๓ ปี การก่อตั้ง “เครือข่ายวิทย์สานศิลป์”
สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์
Botanical Art Thailand 2022

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ซึ่งก่อตั้งขึ้น ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ริเริ่มโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ให้แก่เยาวชน นักวิจัย และประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีการถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อใช้ประกอบในห้องเรียน บทความวิจัย และเป็นงานอดิเรก กระทั่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยมีผลงานภาพวาดเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จัดนิทรรศการแสดงภาพวาดพฤกษศาสตร์ ณ…

การขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านด้วยการปักชำ

โดยทั่วไปเกษตรกรขยายพันธุ์ “ทุเรียนพันธุ์” อร่อยๆ​ ด้วยการเสียบยอดบนต้นกล้าทุเรียนพื้นบ้าน แต่มันง่ายไป! เชื่อหรือไม่ว่า​ “#ทุเรียนพื้นบ้าน” ต้นอร่อย มีอยู่เพียงต้นเดียวเท่านั้น​ เพราะแต่ละต้นมาจากเมล็ดที่ได้จากการผสมข้ามต้นโดยค้างคาว ทุเรียนพื้นบ้านต้นสูง​ อายุหลายสิบปีจนถึง​ 200​ ปีก็มี! ขยายพันธุ์ทุเรียนเด็กๆ​ เสียบยอดไม่กี่วันก็ติดดี​ แตกใบสวยงาม​ เอาไปลงปลูกได้ แต่ทำยังไงจะอนุรักษ์และขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน​ ต้นแก่วัยชรา มาคุยเรื่อง​ #การขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านด้วยการปักชำโดยตรง​ กับ​ ผศ.​ ดร.#อุษณีษ์_พิชกรรม​ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์​ มหา​วิทยาลัย​มหิดล ที่มา: https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/297516878394567/

ดูงานที่ National Biobank of Thailand (NBT) สวทช

อาจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พานักศึกษาชั้นปี 2 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ศึกษาดูงานที่ National Biobank of Thailand (NBT) สวทช.

บรรยากาศงานนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 3”

ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3284775688226609 22 กันยายน 2563 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดงาน นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 3” Botanical Art Thailand 2020 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ประธานการจัดงานกล่าวรายงาน และ อาจารย์พันธุ์ศักดิ์…

“ศรีตรัง​” อดีตเคยใช้เป็นต้นไม้ประจำคณะฯ และมหาวิทยาลัยฯ

ที่มา: www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3074960629208117 #101x1in100PlantScienceStories “ศรีตรัง​” จากแดนไกล​ มีชื่อเป็นต้นไม้ประจำสถานศึกษาหลายแห่ง และยังมีเพลงที่มีชื่อศรีตรังมากมายหลาย​เพลง​หนึ่งในนั้น​ ได้รับเกียรติแต่งทำนองโดย​ครูเอื้อ​ สุนทรสนาน​ และขับร้องโดยคณะสุนทราภรณ์อันลือลั่นในอดีต​ (ลิงค์เพลงในแคปชั่นโน้ตเพลง)​ ศาสตราจารย์สตางค์​ มงคลสุข​ผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์​ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยมหิดล​ ชื่นชอบต้นไม้ชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง​ ทั้งคณะวิทยาศาสตร์​ และมหาวิทยาลัยมหิดล​ จึงเคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำคณะฯ​ และมหาวิทยาลัยฯ​ ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข บุกเบิกก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ ศรีตรังก็กลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแห่งนั้นด้วย​ ทั้งนี้ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนไปใช้ต้น​ “กันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน ศรีตรังเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของทวีปอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้​ ชื่อวิทยาศาสตร์​ Jacaranda​…