ขอเชิญร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ ครั้งที่ 31(ปิดรับสมัครแล้ว)

หลักการและเหตุผล

กล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทำรายได้จากการส่งออกมากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมกล้วยไม้ เนื่องมาจากได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่การปลูกเลี้ยง การปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการใช้วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มีข้อดีหลายประการได้แก่ ช่วยผ่อนคลายความเครียดและมีความสุขทางจิตใจ สามารถปลูกเลี้ยงได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่พื้นที่ขนาดเล็กบริเวณบ้านโดยไม่ต้องลงทุนมากนัก ไปจนถึงปลูกเลี้ยงในพื้นที่ขนาดใหญ่และผลิตแบบครบวงจร เป็นรายได้หลักและรายได้เสริม เพิ่มเครือข่ายเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและต่างประเทศเนื่องจากกล้วยไม้เป็นพืชสากล และเพื่อการเรียนรู้ศึกษาวิจัยทางพฤกษศาสตร์เนื่องจากประเทศไทยมีความหลากหลายของกล้วยไม้ป่ามากกว่า 1,100 ชนิด และมีลูกผสมอีกมากมาย
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยไม้ ซึ่งต้องมีบุคลากร

ที่มีความรู้ทางด้านนี้จำนวนมาก นอกจากนี้บุคคลจากหลายอาชีพให้ความสนใจในการเข้ารับการอบรมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตกล้วยไม้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์จึงได้จัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้แก่ ผู้สนใจทั่วไป นักเรียน นิสิตนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างจากหน่วยงานภาครัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อช่วยให้สามารถปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบครบวงจรให้เจริญงอกงาม และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยไม้ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2562
วันพุธที่ 24 เมษายน 2562 9.00-12.00 น.
  • การจำแนกและชื่อกล้วยไม้
  • การปลูกเลี้ยง
  • วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
13.00-16.00 น.
  • การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้
  • ข้อมูลและธุรกิจกล้วยไม้
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2562 9.00-12.00 น.
  • การย้ายปลูกและดูแลรักษา (ฝึกปฏิบัติ)
  • การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
  • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
13.00-16.00 น.
  • การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ (ฝึกปฏิบัติ)
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562 9.00-18.00 น.
  • ทัศนศึกษาสวนกล้วยไม้ จังหวัดนครปฐม

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

จำนวน 30 คน

สถานที่อบรม

ห้องบรรยาย SC 4-207 และห้องปฏิบัติการ R2/1 ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์ 3 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
โรงเรือนกล้วยไม้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

ครูอาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ หรือนิสิตนักศึกษา ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างจากหน่วยงานภาครัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาให้เข้ารับการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และสามารถเบิกค่าลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้ ผู้สนใจทั่วไป

วิทยากร

รองศาสตราจารย์ ดร. ครรชิต ธรรมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำเร็จปริญญาเอกทางด้านกล้วยไม้จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เสนอผลงานวิจัยในงานกล้วยไม้โลกในรูปบรรยาย ครั้งที่ 15 ที่ประเทศบราซิล, ครั้งที่ 16 ที่ประเทศแคนาดา, ครั้งที่ 17 ที่ประเทศมาเลเซีย, ครั้งที่ 18 ที่ประเทศฝรั่งเศส, ครั้งที่ 20 ที่ประเทศสิงคโปร์, ครั้งที่ 21 ที่ประเทศแอฟริกาใต้, ครั้งที่ 22 ที่ประเทศอีคัวดอร์ และงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 11 ที่ประเทศญี่ปุ่น, แต่งหนังสือเรื่อง Orchids in Thailand: A Success Story เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ 3 ครั้งและกล้วยไม้ไทย : การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และเป็นประธานจัดงานวิชาการนานาชาติ TSO2016 ,CryoSymp 2018 และงาน BGL2019

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 3,900 บาท รวมค่าเอกสาร อาหารว่างและอาหาร โดยสามารถชำระค่าลงทะเบียนผ่าน ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 026-2-68742-8 ในนาม นายครรชิต ธรรมศิริ ปิดรับสมัคร 19 เมษายน 2562

ส่งใบสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณลดาวัลย์ และคุณชาลิสา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม ที่ 6 ราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์: 0 2201 5232, 0 2201 5240 โทรสาร: 0 2354 7172   e-mail:  kanchitthammasiri@gmail.com

ดาวน์โหลดใบสมัคร(กรณีลงทะเบียนทางโทรสาร)

(ส่งหลักฐานการโอนเงิน โดยถ่ายรูปสลิปโอนเงิน ส่งมาที่ scpl.admin@gmail.com หากภาควิชาพฤกษศาสตร์ได้รับแล้ว จะตอบกลับแจ้งท่านทราบ)

ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนออนไลน์