ที่มา: http://www.cryoletters.org/Abstracts/vol_42_1_2021.htm#025

รศ. ดร.ครรชิต ธรรมศิริ ได้ร่วมวิจัยเก็บรักษาก้อนเรณูกล้วยไม้ไทย 10 ชนิดในไนโตรเจนเหลว กับ ผศ. ดร.นิภาวรรณ์ จิตรโสภากุล มหาวิทยาลัยราชมงคลเทคโนโลยีอีสาน

 พื้นฐาน: การเก็บรักษาก้อนเรณูกล้วยไม้ให้มีชีวิตและผสมเกสรได้ในช่วงเวลาเฉพาะมีความสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ วิธีหนึ่งที่ทำได้คือการเก็บรักษาระยะยาวโดยใช้ aluminium cryo-plate

วัตถุประสงค์: เพื่อหาวิธีเก็บรักษาก้อนเรณูโดยวิธี V cryo-plate และประยุกต์ใช้กับกล้วยไม้ไทยอื่นๆ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์

อุปกรณ์และวิธีการ: เก็บก้อนเรณูกล้วยไม้ช้าง Rhynchostylis gigantea (L.) Ridl. ในตอนเช้า วางบน aluminium cryo-plates ใน alginate gel แล้วแช่ loading solution ที่มี 2 M glycerol และ 0.4 M sucrose นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิ 29oC จากนั้นทำให้แห้งด้วย PVS2 solution นาน 0-60 นาที ที่ 29oC วางแผ่น cryo-plates ที่มีก้อนเรณูในถังไนเวลาในการแช่โตรเจนเหลว นาน 40 นาที แล้วทำให้อุ่นอย่างรวดเร็วใน 1 M sucrose นาน 15 นาที แล้วนำไปผสมเกสร

ผลการทดลอง: ก้อนเรณูทั้งที่เก็บในไนโตรเจนเหลวและไม่ได้เก็บในไนโตรเจนเหลว แล้วทำให้แห้งด้วย  PVS2 รอดชีวิต 100% วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับกล้วยไม้ไทยอีก 9 ชนิด เวลาในการแช่ PVS2 มีผลต่อความมีชีวิตของก้อนเรณู (range 40-100 %; average 93%) และผล (20-100 %; average 78%) เมล็ดที่งอกและพัฒนาไปเป็นต้นได้ดีบนอาหารวุ้นสูตร   modified Vacin and Went (1949)

สรุป: การเก็บก้อนเรณูในไนโตรเจนเหลว โดยวิธี V cryo-plate มีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์

คำสำคัญ: orchid, pollinia, aluminium cryo-plate, fertility, protocorm, capsule