หลักการและเหตุผล
ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ภาพวาดประกอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใช้เพื่ออธิบายความรู้ในสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจัดทำเอกสาร ตำรา และประกอบบทความในลักษณะต่างๆ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพจะก้าวหน้าไป แต่ภาพถ่ายก็ไม่อาจทดแทนภาพวาดได้ เพราะภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ได้จากการประมวลความรู้ กลั่นกรองข้อมูลออกมาเป็นภาพ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมีคุณค่าเทียบเท่ากับตำราในเรื่องนั้นๆ ผู้วาดต้องศึกษาตัวอย่างต้นแบบอย่างรอบด้าน สร้างสรรค์ขึ้นจากข้อมูลจริง และแสดงออกมาเป็นภาพที่ถูกต้อง แม่นยำ และสวยงาม ปัจจุบันภาพวาดทางวิทยาศาสตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง และเป็นที่ต้องการ ทั้งในแวดวงวิชาการ และเพื่อสุนทรียะ
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำคัญของภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงได้เปิดสอนวิชานิทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Illustrations) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อปีการศึกษา 2541 และเล็งเห็นว่ายังมีนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ข้าราชการ และประชาชนอีกหลากหลายอาชีพที่มีความสามารถและสนใจใคร่เรียนรู้วิชาสาขานี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ฯ จึงได้ริเริ่มจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ขึ้น ต่อเนื่องนับจากนั้นมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 22 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมเลือกตัวอย่างศึกษาที่ตนเองสนใจ เช่น ดอกไม้ แมลง สัตว์สตาฟฟ์ กระดูก ภาพดวงดาว ทั้งนี้โดยหวังให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวิธีการนำเสนอข้อมูลให้สวยงามตามหลักศิลปะ และขณะเดียวกันก็ช่วยเปิดมุมมองด้านวิทยาศาสตร์ให้กับศิลปิน เพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกันในการสร้างสรรค์ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานสูงในระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. อธิบายความสำคัญและหลักการการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ได้
2. ฝึกทักษะการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
3. สร้างสรรค์ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้ในระดับเบื้องต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการอบรม
ประกอบด้วยภาคบรรยายและการฝึกปฏิบัติ
คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
- คุณสมบัติ
- นักวิทยาศาสตร์ ครูอาจารย์
- นิสิตนักศึกษาและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการเรียนการสอนและการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ
- ศิลปิน จิตรกร ครูอาจารย์ด้านศิลปะ ที่มีความสนใจ และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างจากหน่วยงานภาครัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาให้เข้ารับการอบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา และสามารถเบิกค่าลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้
- ผู้สนใจทั่วไป
สถานที่อบรม
ห้องปฏิบัติการ N300 ชั้น 3 อาคารชีววิทยาใหม่ (N) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร. 0-2201-5240
ที่พักใกล้คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล |
|
รถประจำทาง ถนนพระราม 6 :
8, 44, 67, 92, 97, 157, 171, 509, 538 |
|
ลงรถไฟฟ้า BTS ที่สถานนีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แล้วเดินมาขึ้นรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างในซอยโยธี ดูเส้นทาง |
แผนที่การเดินทาง
การเดินทางมายังห้อง N300 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
หลักสูตรการอบรม
- หลักการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
- อุปกรณ์และขั้นตอนการวาดภาพ
- การร่างภาพ และลงแสง-เงา
- เทคนิคการลงหมึก
- เทคนิคการใช้สีไม้
- เทคนิคการใช้สีน้ำ
- ลิขสิทธิ์ และวิธีการเก็บรักษาผลงาน
วิทยากรให้การอบรม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ศักดิ์ สุกแก้วมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- คุณอรวรรณ สังวรเวชภัณฑ์ เครือข่ายวิทยสานศิลป์
ค่าใช้จ่าย
- ค่าลงทะเบียนรวมค่าอุปกรณ์ อาหารกลางวัน อาหารว่าง ท่านละ 5,500.- บาท สำหรับบุคคลทั่วไป
- และ ลด 10 % เหลือ 4,950 บาท สำหรับครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Science School Net) -->ตรวจสอบสถาบันในเครือข่ายฯ
กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 08.00-09.00 น. | ๐ ลงทะเบียน | 09.00-10.00 น. | ๐ การบรรยาย เรื่อง ความสำคัญและหลักการการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ | 10.00-10.20 น. | ๐ พักรับประทานอาหารว่าง | 10.20-11.00 น. | ๐ แบบฝึกหัด 1 – เรียนรู้ก่อนเรียนวาด | 11.00-12.00 น. | ๐ การบรรยาย เรื่อง ขั้นตอนการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ | 12.00-13.00 น. | ๐ รับประทานอาหารกลางวัน | 13.00-14.00 น. | ๐ แบบฝึกหัด 2 – การร่างภาพ ลงแสง-เงาเบื้องต้น | 14.00-14.30 น. | ๐ แบบฝึกหัด 3 – การร่างภาพ ลงแสง-เงาตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ | 14.30-14.50 น. | ๐ พักรับประทานอาหารว่าง | 14.50-16.00 น. | ๐ การบรรยาย เรื่อง การเลือกตัวอย่างและมุมมองในการภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ |
---|---|
วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 09.00-10.00 น. | ๐ วิจารณ์ภาพ แบบฝึกหัด 4 – การร่างภาพแบบภาคสนาม |
10.00-10.15 น. | ๐ พักรับประทานอาหารว่าง | 10.15-11.30 น. | ๐ แบบฝึกหัด 5 – การร่างภาพตัวอย่างที่สนใจ | 11.30-12.00 น. | ๐ การบรรยาย เรื่อง วิธีการลอกลายและลงหมึกจ | 12.00-13.00 น. | ๐ รับประทานอาหารกลางวัน | 13.00-14.10 น. | ๐ แบบฝึกหัด 5 – การลงหมึก | 14.10-14.40 น. | ๐ การบรรยาย เรื่อง วิธีการลงสีไม้ | 14.40-15.00 น. | ๐ พักรับประทานอาหารว่าง | 15.00-16.00 น. | ๐ แบบฝึกหัด 6 |
วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 08.50-09.00 น. | ๐ เตรียมอุปกรณ์สีน้ำ | 09.00-10.00 น. | ๐ วิจารณ์ภาพ แบบฝึกหัด 7 – การใช้พู่กันและการผสมสีน้ำ |
10.00-10.20 น. | ๐ พักรับประทานอาหารว่าง | 10.20-10.50 น. | ๐ การบรรยาย เรื่อง ขั้นตอนการลงสีน้ำ | 10.50-12.00 น. | ๐ แบบฝึกหัด 8 – ฝึกปฏิบัติการลงสีน้ำ | 12.00-13.00 น. | ๐ รับประทานอาหารกลางวัน | 13.00-14.30 น. | ๐ แบบฝึกหัด 8 (ต่อ) | 14.30-14.45 น. | ๐ พักรับประทานอาหารว่าง | 14.45-15.30 น. | ๐ วิจารณ์ภาพ | 15.30-16.00 น. | ๐ มอบประกาศนียบัตร และปิดการอบรม |
ลงทะเบียนออนไลน์ |
หนังสืออนุมัติหลักการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 22 |
การชำระเงิน
กรุณาโอนเข้าบัญชี ที่
บัญชีเงินรายได้ (คณะวิทยาศาสตร์)
เลขที่บัญชี 026-4-72340-8
กรุณาโอนเงินและส่งสำเนาการโอนเงินที่ อีเมล plantscience.mahidoluniversity@gmail.com ภายในวันที่ 24 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | หากท่านที่มีชื่อลงทะเบียนแต่ไม่ได้ส่งหลักฐานการโอนเงินภายในกำหนดเวลา ถือว่าสละสิทธิ์ | ทั้งนี้หากมีผู้ชำระเงินและส่งหลักฐานครบตามจำนวนรับแล้ว ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ปิดรับการสมัคร ไม่รับสมัครท่านที่ไม่มีชื่อลงทะเบียนมาก่อน และไม่สามารถคืนเงินได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม ที่ 6 ราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์: 0 2201 5232 (คุณลดาวัลย์), 0 2201 5240 (คุณชาลิสา) โทรสาร: 0 2354 7172 e-mail address: plantscience.mahidoluniversity@gmail.com
คำแนะนำในการเลือกตัวอย่างเพื่อนำมาฝึกร่างภาพและบันทึกแสง-เงา
1. ควรเป็นตัวอย่างที่ตนเองสนใจ
2. ไม่ควรมีขนาดเล็กเกินไปหรือมีรายละเอียดมาก ไม่ควรต้องใช้แว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ เพราะจะเสียเวลามาก ควรมีขนาดจริงไม่เกินหน้ากระดาษ A4
3. ควรมีรูปร่างโดดเด่น เช่น กะโหลกสัตว์ ดอกกล้วยไม้ ผลแก้วมังกร ด้วง หอย ปลา สำหรับผู้ฝึกหัดขั้นต้นนี้ หากใช้ตัวอย่างที่มีรูปทรงเรียบเกินไป เช่น ส้ม มันฝรั่ง กล้วย แตงโม หรือซับซ้อนเกินไป เช่น ทุเรียน เงาะ อาจถ่ายทอดออกมาให้เหมือนจริงได้ยาก ไม่แนะนำให้ใช้
4. ถ้าเป็นดอกไม้ ควรเลือกดอกที่ไม่เหี่ยวง่าย ควรหาภาชนะมาตั้งวางด้วยจะดีมาก สำหรับตัวอย่างอื่นๆ ควรจะสามารถตั้งวางตรงหน้าได้ในระดับสายตา หรือระดับที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องถือ
5. สามารถใช้ภาพร่างเดียวกันนี้เพื่อฝึกการ rendering ทั้ง (1) การลงหมึก (2) ลงดินสอและผงถ่าน และ/หรือ (3) สีน้ำ หรือจะร่างภาพใหม่ในแต่ละเทคนิคเพื่อฝึกฝีมือการร่างภาพก็ได้