การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 และ
การประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3
The 7th Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics (TURFPaG)
and The 3rd Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics (T-JuRFPaG)
หลักการและเหตุผล
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำริให้มีการนำเสนอผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ฯ ในรูปแบบการประชุมวิชาการ โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงการพิเศษพฤกษศาสตร์ (Senior Project) ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2546 ต่อมา คณาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชของนักศึกษาปริญญาตรีจากทั้งสองสถาบันการศึกษาขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพเป็นประจำทุกปี และได้เชิญนิสิตนักศึกษา จากหลายคณะ/สถาบันจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วม ซึ่งในปี พ.ศ. 2549 ใช้ชื่อการประชุมว่า Plant Science Plus ครั้งที่ 2 ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า “การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์” เป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2558 ใช้ชื่อว่าการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จาก 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สลับกันเป็นเจ้าภาพหลักตามลำดับ
เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศในแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ที่มุ่งหวังให้กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศและมีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ซึ่งสถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจะจัด “การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7” หรือ “The Seventh Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics (The 7th TURFPaG)” และ “การประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3” หรือ “The Third Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics (The 3rd T-JuRFPaG)” ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 8.30-17.30 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการ เป็นเวทีการนำเสนอผลงาน และเปิดโอกาสให้ทั้งนักเรียน นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน สร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ในการนี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ร่วมส่งบทคัดย่อเพื่อรับการพิจารณาเข้านำเสนอผลงาน ขอเชิญครู อาจารย์ และผู้สนใจเข้ารับฟังการนำเสนอผลงาน ฟังการบรรยายพิเศษ และร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสวนาในการประชุมในครั้งนี้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการของนักเรียน นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล
- เพื่อเป็นเวทีของการนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ของนักเรียน และนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี
- เพื่อเชื่อมโยง และพัฒนาเครือข่ายงานวิจัยทางด้านพืชและพันธุศาสตร์ระหว่างโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
คณะทำงาน
คณะกรรมการที่ปรึกษา
- รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ. ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ. ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ. ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- อ. ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ. ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ. ดร.นพ.พรรษกร ตันรัตนะ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ. ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คุณวรัษยา สุนทรศารทูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ. ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ. ดร.สีหนาท ประสงค์สุข หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ. ดร.ณัฎฐา เสนีวาส หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะกรรมการดำเนินงาน
- รศ. ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม มหาวิทยาลัยมหิดล ประธาน
- ผศ. ดร.วิษุวัต สงนวล มหาวิทยาลัยมหิดล รองประธาน
- รศ. ดร.พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- รศ. ดร.ณัฏฐินี พันธ์วิศวาส มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- ผศ. ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- ผศ. ดร.ทยา เจนจิตติกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- ผศ. ดร.งามนิจ ชื่นบุญงาม มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- ผศ. ดร.พนิดา คงสวัสดิ์วรกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- รศ. ดร.ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
- รศ. ดร.รัชนีกร ธรรมโชติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
- ผศ. ดร.กนกวรรณ เสรีภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
- ผศ. ดร.ชนิตา ปาลิยะวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
- ผศ. ดร.อัญชลี ใจดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
- รศ. ดร.ศรีสม สุวรรณวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- รศ. ดร.สรัญญา วัชโรทัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- รศ. ดร.ประศาสตร์ เกื้อมณี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- รศ. ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- รศ. ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- รศ. ดร.เฉลิมพล สุวรรณภักดี์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- ผศ. ดร.อรอุษา คำสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- ผศ. ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- อ. ดร.คณิณ รุ่งวัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- อ. ดร.จรัสวัน วารกานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- อ. ดร.ณรงค์ วงศ์กันทรากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- อ. ดร.พรสวรรค์ สุทธินนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- อ. ดร.มินตา ชัยประสงค์สุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- อ. รวีวรรณ ตัณฑวณิช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
- ผศ. ดร.อลิสา สจ๊วต มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและเลขานุการ
- นายสมบัติ ศรีวรรณงาม มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- นางอัจฉรา เมืองครุธ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- นางสาวลดาวัลย์ วิภารัตนากร มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- นางชาลิสา คล้ายพึ่งสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ระยะเวลาทำการวิจัยและแผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
- วันศุกร์สุดท้ายของเดือนเมษายนทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565
รูปแบบการจัดการประชุม
- การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (oral presentation) โครงการพิเศษ (Special Project) โครงการปริญญานิพนธ์ (Senior Project) และ/หรือ วิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาตรี (Undergraduate Thesis) ด้านพืชและพันธุศาสตร์ ของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับโครงงานระดับมัธยมศึกษา ด้านพืชและพันธุศาสตร์ ที่ได้รับคัดเลือก
- การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (poster presentation) สำหรับโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี และโครงงานระดับมัธยมศึกษา ด้านพืชและพันธุศาสตร์ที่ได้รับคัดเลือก
- การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืชและพันธุศาสตร์
- การเสวนาพิเศษ เรื่อง พฤกษศาสตร์ศึกษา โดย ครูอาจารย์ระดับมัธยมศึกษา นักการศึกษา ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิตนักพฤกษศาสตร์และพันธุศาสตร์ อาจารย์สาขาวิชาพฤกษศาสตร์และพันธุศาสตร์
วัน เวลา และสถานที่
- วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 8.30-17.30 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom ลิงค์การประชุม https://zoom.us/my/turfpag2022
เวลา |
กิจกรรม |
|
08.15-08.30 น. |
ลงทะเบียน |
|
08.30-08.45 น. |
พิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 และ |
|
08.45-09.00 น. |
ถ่ายภาพหมู่ |
|
09.00-10.00 น. |
การบรรยายพิเศษ “อิทธิพลของแสงเทียมต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช” |
|
10.00-11.00 น. |
การนำเสนอผลงานแบบบรรยายช่วงที่ 1 |
|
|
10.00-10.10 น. |
OG1-โครงสร้างหมู่ไม้และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องของป่าเสม็ดขาวของสวนพฤกษศาสตร์ระยอง |
|
10.10-10.20 น. |
OG2-อนุกรมวิธานของ Huperzia serrata ชนิดเชิงซ้อนในประเทศไทย |
|
10.20-10.30 น. |
OG3-สำรวจความหลากหลายของพืชในอุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี จังหวัดเชียงใหม่ |
|
10.30-10.40 น. |
OG4-จุลสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเนื้อเยื่อผิวของกลีบดอกกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium spp.) |
|
10.40-10.50 น. |
OG5-การผลิตเมล็ดเทียมเพื่อการอนุรักษ์ต้นปุดเดือนโดยใช้ส่วนลำต้น |
11.00-12.00 น. |
การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Breakout Rooms) |
|
|
|
Po1-การศึกษาเปรียบเทียบกายวิภาคศาสตร์และปริมาณสารสำคัญของบัวบกที่ปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน |
|
|
Po2-กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของรากไมคอร์ไรซาในกล้วยไม้รองเท้านารีถิ่นใต้ (Paphiopedilum spp.) สองชนิดในประเทศไทย |
|
|
Po3-การศึกษาการสืบพันธุ์ของบอนในสกุลโคโลคาเซียบางชนิดในประเทศไทย |
|
|
Po4-การปรับสภาพเส้นใยเซลลูโลสจากกาบมะพร้าวด้วยโซเดียม |
12.00-13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
|
13.00-15.00 น. |
การนำเสนอผลงานแบบบรรยายช่วงที่ 2 |
|
|
13.00-13.10 น. |
OG6-ผลของแบคทีเรีย PGPR เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค |
|
13.10-13.20 น. |
OG7-ผลของ 6-benzylaminopurine ต่อการเพิ่มจำนวนยอดฟ้าทะลายโจรโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ |
|
13.20-13.30 น. |
OG8-การเปลี่ยนแปลงทางเซลล์พันธุศาสตร์ระหว่างกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืช: กรณีศึกษาในต้นบอนประดับ (Colocasia esculenta (L.) Schott) |
|
13.30-13.40 น. |
OG9-ผลของสารสกัดหยาบจากพลูและช้าพลูต่อการยับยั้งเชื้อราในโรคทุเรียน |
|
13.40-13.50 น. |
OG10-การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการของโปรตีนเอฟเฟคเตอร์ของเชื้อไฟทอป-ธอร่า สาเหตุโรครากเน่าทุเรียน |
|
13.50-14.00 น. |
OG11-การศึกษาระยะเวลาการเจริญของหลอดเรณูภายในก้านเกสรเพศเมีย ที่ส่งผลต่อการติดผลของทุเรียนพันธุ์ “หมอนทอง” |
|
14.00-14.10 น. |
OJ1-ผลของไมโครพลาสติกต่อการเจริญเติบโตของไข่น้ำ (Wolffia globosa) |
|
14.10-14.20 น. |
OJ2-ประสิทธิภาพของเชื้อรา Chaetomium globosum ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora สาเหตุโรคเน่าเละในคะน้า |
|
14.20-14.30 น. |
OJ3-เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตของข้าวไรซ์เบอร์รี่จากนาโนซิงค์ออกไซด์ และการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จากน้ำหมักชีวภาพ |
|
14.30-14.40 น. |
OJ4-การศึกษาการเจริญเติบโตของไรโซเบียมในขึ้นฉ่าย |
15.00-15.15 น. |
พักตามอัธยาศัย |
|
15.15-16.15 น. |
การเสวนาจากรุ่นพี่สามสถาบัน “TuRFPaG Club: Three Beans’ Talk” |
|
16.15-16.45 น. |
ประกาศรางวัล และพิธีปิดงานประชุมวิชาการ |