Author: Sombat Sriwanngarm

คณาจารย์นักวิจัยจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการพัฒนาพืชสมุนไพรและพืชเสพติดทางการแพทย์

ที่มา: คลิก #MoUพัฒนาพืชสมุนไพรและพืชเสพติด คณาจารย์นักวิจัยจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการพัฒนาพืชสมุนไพรและพืชเสพติดทางการแพทย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=660786689413065&id=100064452203835&mibextid=Nif5oz

คณาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล ร่วมนิเทศนักศึกษาฝึกงานที่กลุ่มวิจัยวัชพืช กรมวิชาการเกษตร

การฝึกงาน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับภาคการผลิตหรือภาคบริการหลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดปฏิบัติเบื้องต้นในสถานศึกษาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัยและบรรยากาศการทำงานทางธุรกิจที่ต้องแข่งขันในการรักษาคุณภาพ และมาตรฐานของงาน รวมทั้งการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเกิดความมั่นใจและ เจตคติที่ดีในการทำงานและการประกอบอาชีพ ดังนั้นคณาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล จึงได้ร่วมนิเทศนักศึกษาฝึกงานที่กลุ่มวิจัยวัชพืช กรมวิชาการเกษตรเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/738135534986556?ref=embed_post

เยี่ยมชม Wastegetable ฟาร์ม สถานที่ฝึกงานนักศึกษาปี 3 ภาควิชาพฤกษศาสตร์

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม Wastegetable ฟาร์ม ฟาร์มผักที่ใช้เศษอาหารจากโรงอาหารศูนย์การค้ามาทำปุ๋ย ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และขอขอบพระคุณทางทีมงานที่ช่วยสอนและดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี แหล่งที่มาข้อมูล

นายชวรัตน์ รัตนเสถียร นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ ร่วมคณะ MU Choir ไปประกวดขับร้องประสานเสียง ณ ประเทศออสเตรีย

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า และชมรม Super SC ร่วมใจมอบทุน Global talent สนับสนุน MU Choir บินลัดฟ้าร่วมการแข่งขันขับร้องประสานเสียง ณ สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐอิตาลี ดูภาพข่าวกิจกรรมและอ่านข่าวต่อได้ที่ https://science.mahidol.ac.th/news/jun66-28_02/

Visiting student internships at the National Biobank of Thailand, NSTDA.

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา คณาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ ได้แก่ ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล, ผศ. ดร.ทยา เจนจิตติกุล และผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามการฝึกงานของนักศึกษา ณ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand) สวทช. พร้อมเยี่ยมชมการทำงานสำรวจ คัดเลือก จัดเก็บ และทดสอบเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมจากธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ในห้องควบคุมความชื้นและอุณหภูมิต่ำ มีเป้าหมายการจัดเก็บเมล็ดพืชป่าและพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช…

The 15th Botanical Conference of Thailand (การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15)

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเกียรติจากสมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (The 15th Botanical Conference of Thailand: BCT15) ในหัวข้อ “พฤกษศาสตร์สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: ความร่วมมือในระดับท้องถิ่นสู่ระดับสากล (Botany towards SDGs: from local to global…

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิชาการเกษตร & เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ & เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

24 พฤษภาคม 2566 นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมลแสวงผล ดูงานกรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หารือความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์โบราณคดี และแนะนำห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาฝึกงานวันนี้ อาจารย์และนักศึกษาเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ชมกล้องสเตอริโอทันสมัยที่ใช้ในการศึกษาเมล็ดวัชพืช รวมทั้งการเก็บพรรณวัชพืชตามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์พืช จากนั้นเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ดร.กิติพงษ์ ตั้งกิจ นำชมโดยเฉพาะห้องปฏิบัติการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของเนื้อไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัยศึกษาถ่านไม้ในแหล่งโบราณคดี สุดท้ายเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ประศาสตร์…