Category: Uncategorized

กิจกรรมค่ายเสริมสร้างวิชาการ สำหรับนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดกิจกรรมค่ายเสริมสร้างวิชาการ สำหรับนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 12.45 น. ณ อาคาร L2 ห้อง 101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาแหล่งที่มา

การประชุมอนุกรมวิธานและซิสเตมาติกส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12

6-8 มิถุนายน 2567คณาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม #อนุกรมวิธานและซิสเตมาติกส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล co-author ในผลงานที่นำเสนอโดยนายณัฐพลนพพรเจริญกุล ศิษย์เก่าของภาควิชา ซึ่งได้รับรางวัล Best Oral Presentationแหล่งที่มา

Asst. Prof. Dr. Saroj Rujisanksakul, Lecturer of Department of Plant Science, Invited to be a special lecturer on the taxonomy and evolution of plants in Balsaminaceae, Zingiberacae, Orchidaceae, arrowroot flour and Stephania sp.nova. at Burapha University.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเกี่ยวกับอนุกรมวิธานและวิวัฒนาการของพืชวงศ์เทียน วงศ์ขิง กล้วยไม้ แป้งเท้ายายม่อม และบัวหิน ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพรวมของงานด้านอนุกรมวิธานตั้งแต่ในห้องปฏิบัติการไปสู่ชุมชนและภาคเอกชน จากท้องถิ่นสู่ระดับสากล และการขับเคลื่อนนโยบาย ในการนี้ ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้เข้าร่วมรับฟัง และนำนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ด้วย แหล่งที่มา: click

วุฒิภัทร อินทร์ทองคำ ทีมวิจัยจากมหิดลที่เดินทางไปยังศูนย์วิจัยและเทคโนโลยีอวกาศของยุโรป (ESTEC) ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์

ที่มา: click วุฒิภัทร อินทร์ทองคำ (จินหลง – ยืนที่ 3 จากซ้าย) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยจากมหิดลที่เดินทางไปยังศูนย์วิจัยและเทคโนโลยีอวกาศของยุโรป (ESTEC) ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นำโดย ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ เพื่อทดลองนำ #ไข่น้ำ หรือ #ผักผำ (#Wolffia) พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกมาศึกษาชีววิทยาในสภาพอวกาศ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการเพาะปลูกพืชอาหารในการเดินทางระหว่างดาวต่อไปในอนาคต

ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล และผู้ร่วมวิจัยชาวพม่า Dakaw Phong San รายงานพืช new record ในพม่า Impatiens latiflora Hook.f. & Thomson

ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ร่วมกับผู้ร่วมวิจัยชาวพม่า Dakaw Phong San รายงานพืช new record ในพม่า Impatiens latiflora Hook.f. & Thomson ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูฐานถึงอินเดีย โดยพืชชนิดดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากพืชสกุลเทียนชนิดอื่นในพม่าโดยการที่มีกลีบดอกระนาบแบนสีชมพูดคล้านเทียนกลุ่มเทียนดอย Impatiens violiflora Hook.f. แต่มีการออกดอกเป็นช่อยาว มีดอก 2-6 ดอก ต้นสูงได้ถึง 60 ซม. พืชดังกล่าวมีการกระจายพันธุ์กว้างและพบจำนวนมากอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงสูญพันธุ์น้อยที่สุด…