Category: news

ขอแสดงความยินดีกับผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. ดร.ทยา เจนจิตติกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล (ภาควิชาพฤกษศาสตร์) ได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ดำรงตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์” สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566 ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมครั้งที่ 608 วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 แหล่งที่มา

32nd anniversary of Plant Science homecoming

⤜ Roots🥕leave🍁 Flowers🌼fruit🫛 ⤖⤨ ขอเชิญเพื่อนพ้องน้องพี่ ลูกศิษย์ อาจารย์ คืนสู่เหย้าชาวพฤกษศาสตร์ มหิดล⤨ วันที่ 14 กันยายน 2567 นี้ เวลา 10:00-14:00 น.⤨ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล⤨ ลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/tno81iH6PAecC4Bu9 แหล่งที่มา

ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเสด็จทรงเปิดงานสีสรรพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ ครั้งที่ 16

รศ.ภก. สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และคณาจารย์จากภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเสด็จทรงเปิดงานสีสรรพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ ครั้งที่ 16 ทั้งนี้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรักษ์พงไพรและมีผลงานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่เข้าร่วมค่าย ร่วมจัดแสดงในนิทรรศการงานสีสรรพรรณไม้ฯ จัดแสดงผลงานของหน่วยงานด้านธรรมชาติวิทยาของ 28 หน่วยงาน อาทิ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมป่าไม้ เปิดจำหน่ายพรรณไม้ ผลไม้ ดอกไม้ และของที่ระลึกต่างๆ เปิดเข้าชมฟรี ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์…

รศ.ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม นำผลงานวิจัยเข้าร่วมในงาน “วันทุเรียนชุมพร”

“การให้ปุ๋ยตามปริมาณผลผลิตที่จำหน่ายในทุเรียนหมอนทอง” รศ.ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำผลงานวิจัยเข้าร่วมในงาน “วันทุเรียนชุมพร” ในวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2567 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ภายใต้โครงการวิจัย: การศึกษาการสะสมและสูญเสียธาตุอาหารจากระบบการผลิตทุเรียนหมอนทอง เพื่อหาวิธีการประเมินการใส่ปุ๋ยและจัดการธาตุอาหารกลับคืนได้อย่างแม่นยำ ปีที่2 สนับสนุนโดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) แหล่งที่มา

รศ. ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในการสัมนาหัวข้อ “การจัดการลมร้อนด้วยเทคนิคการโชยน้ำ” ให้กับกลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

“จากงานวิจัย สู่มือเกษตรกร” ทีมงานของมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผศ.ดร.วัชระ จินตโกวิท จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในการสัมนาหัวข้อ “การจัดการลมร้อนด้วยเทคนิคการโชยน้ำ” ให้กับกลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้การสนับสนุนของ @Winrock International และทีมงาน #thaiRAIN แหล่งที่มา 1 แหล่งที่มา…

แสดงความยินดีกับ นายโมกข์เมธา มีจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลจากค่าย พสวท. ครั้งที่ 38

ขอแสดงความยินดีกับ “กรีน” โมกข์เมธา (ยืนขวาสุด) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ทีมนักศึกษา ป.ตรี โครงการ พสวท. ศูนย์มหาวิทยาลัยมหิดล โชว์สกิล Pitching สุดเจ๋งในหัวข้อ “อึ้งกะอึ่ง” คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 4,000 บาท ในค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนครั้งที่ 38แหล่งที่มา

การประชุมอนุกรมวิธานและซิสเตมาติกส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12

6-8 มิถุนายน 2567คณาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม #อนุกรมวิธานและซิสเตมาติกส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล co-author ในผลงานที่นำเสนอโดยนายณัฐพลนพพรเจริญกุล ศิษย์เก่าของภาควิชา ซึ่งได้รับรางวัล Best Oral Presentationแหล่งที่มา

อาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเชิญจากมูลนิธิเกตส์เข้าร่วมประชุมเรื่องกล้วยป่า ณ ประเทศมาเลเซีย

3-5 มิถุนายน 2567 อาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญจากมูลนิธิเกตส์เข้าร่วมประชุมเรื่องกล้วยป่า ณ ประเทศมาเลเซีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุลเป็นผู้แทน 2 ใน 5 คนจากประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการแสดงความคิดเห็นในโครงการเพื่อการสำรวจ เก็บตัวอย่าง อนุรักษ์ และปรับปรุงพันธุ์กล้วยการค้า จากพันธุกรรมกล้วยป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว…

ร่วมประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานในงานประชุมระดับนานาชาติ “Korean Academy of Asthma, Allergy and Clinical Immunology (KAAACI) Seoul International Congress 2024” ณ Grand Walkerhill Hotel กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2567ทีมวิจัยโรคภูมิแพ้ ประกอบด้วยนักวิจัย และนักศึกษาระดับปริญญาเอก จาก Allergy Lab โดยมี Principle Investigator / อาจารย์ที่ปรึกษา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และหัวหน้าหน่วยวิจัยโอมิกส์ระดับเซลล์และชีววิทยาเชิงระบบของโรค (Single-Cell Omics and Systems Biology of diseases) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ…