Category: news

MAS Camp 34

กิจกรรม MAS Camp หรือ Mahidol Alternative Science Camp คือ ค่ายแนะแนวการศึกษาต่อในด้านวิทยาศาสตร์โดยพี่ๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาพาน้องไปรู้จักกับภาควิชาต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงให้น้องๆ ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมอีกมากมายเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสสัมผัสถึงความเป็น “ชาววิทยาฯมหิดล” อย่างแท้จริง อีกทั้งโอกาสในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น ข้อสงสัยต่างๆรวมถึงการขอคำแนะนำจากรุ่นพี่ และความสนุกสนานอีกมากมายที่รอเหล่าน้องๆผู้มีพลังวิเศษมาร่วมกันทำภารกิจค้นหาความลับและผจญภัยในโลกเวทย์มนต์นี้!! สิ่งที่น้องๆ จะได้กลับไปจากการเข้าค่ายแมสแคมป์แมสใจครั้งที่ 34 ได้แก่ เกียรติบัตรเกียรติใจ ได้รับเสื้อค่ายที่ออกแบบโดยพี่ๆนักเวทย์ทีมอาร์ต ได้ค้นหาตัวเองว่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ‘ใช่’…

รายงานผลการตรวจสอบภาควิชาพฤกษศาสตร์ ปี 2567

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 งานตรวจสอบภายใน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานผลหลังเข้าตรวจสอบภาควิชาพฤกษศาสตร์ โดยมี รศ. ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ (คณบดีคณะวิทยาศาสตร์) และ ผศ. ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร (รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ) เข้าร่วมชี้แจงแก่บุคลากรภาควิชาฯ หลังเสร็จกิจหัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ได้มอบของที่ระลึกแก่ท่านคณบดีพร้อมถ่ายภาพร่วมกัน

รศ. ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม ร่วมงานประชุมวิชาการและการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร ภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” (Agritech and Innovation Moving Forward : From Local to Global)

ด้วยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ครบรอบ 20 ปี จึงได้จัดให้มีงานประชุมวิชาการและการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร ภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” (Agritech and Innovation Moving Forward : From Local to Global) ตั้งแต่วันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2566 ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร โดยเชิญมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายนิทรรศการและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และให้เสนอผลงานวิจัยเข้าร่วมจัดในโซน…

สำรวจการใช้ประโยชน์จากพืชในชุมชนชาวกะหร่าง บ้านป่าละอูน้อยตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แหล่งที่มา: click 11-12 พฤศจิกายน 2566 การสำรวจการใช้ประโยชน์จากพืชในชุมชนชาวกะหร่าง บ้านป่าละอูน้อยตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา #พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิทยาการพืช (นานาชาติ) ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีอาจารย์ ดร.วรางรัตน์ ง่วนชู จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ศิษย์เก่าและ #ethnobotanist พร้อมกับปราชญ์พื้นบ้าน คุณลุงปราโมทย์ จันทร์อุปถัมภ์ เป็นวิทยากรนำชม

กิจกรรมสานสัมพันธ์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ปี 2566

แหล่งที่มา: click ภาควิชาพฤกษศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญของมิตรภาพและความสัมพันธ์ระหว่าง ศิษย์รุ่นพี่ อาจารย์ และรุ่นน้องที่เพิ่งเข้าปีสองของภาควิชาฯ จึงได้จัดให้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ภาควิชาฯ ประจำปี 2566 ในวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566 เพื่อให้มีโอกาสทำความรู้จักกันและกัน โดยกิจกรรมฯครั้งนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เป็นแกนนำจัดหาสถานที่ ที่พัก และการเดินทาง กำหนดเป้าหมายปลายทางที่จังหวัดประจวบคีรีขัณฑ์ ซึ่งมีสถานที่ให้ศึกษาเรียนรู้ทางพฤกษศาสตร์ ได้แก่ วนอุทยานปราณบุรี วนอุทยานเขานางพันธุรัตน์ และพักที่ราชมงคลชมคลื่น บรรยากาศชื่นมื่น

Asst. Prof. Dr. Saroj Rujisansakul from Mahidol Flower Lab was invited as a speaker at the Baan Lae Suan Fair Living Festival 2023

ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล จาก Mahidol Flower Lab ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานบ้านและสวนแฟร์ Living Festival 2023 ชวนทุกคนมาทดลองเป็นนักพฤษศาสตร์และนักวิจัย เรียนรู้ขั้นตอนการทำ Herbarium อย่างง่าย แหล่งที่มา

Asst. Prof. Dr. Sasivimon Sawangpol took students to visit the Rama 9 Museum

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำรายวิชา วทพฤ 332 นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการของพืช นำนักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ชั้นปีที่ 3 เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระราม 9 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์สารสนเทศและการสื่อสาร ภายในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยมี ดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล รุ่นพี่ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์เป็นวิทยากรนำชม แหล่งที่มา Click