Category: Uncategorized-en

นายชวรัตน์ รัตนเสถียร นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ ร่วมคณะ MU Choir ไปประกวดขับร้องประสานเสียง ณ ประเทศออสเตรีย

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า และชมรม Super SC ร่วมใจมอบทุน Global talent สนับสนุน MU Choir บินลัดฟ้าร่วมการแข่งขันขับร้องประสานเสียง ณ สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐอิตาลี ดูภาพข่าวกิจกรรมและอ่านข่าวต่อได้ที่ https://science.mahidol.ac.th/news/jun66-28_02/

Visiting student internships at the National Biobank of Thailand, NSTDA.

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา คณาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ ได้แก่ ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล, ผศ. ดร.ทยา เจนจิตติกุล และผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามการฝึกงานของนักศึกษา ณ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand) สวทช. พร้อมเยี่ยมชมการทำงานสำรวจ คัดเลือก จัดเก็บ และทดสอบเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมจากธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ในห้องควบคุมความชื้นและอุณหภูมิต่ำ มีเป้าหมายการจัดเก็บเมล็ดพืชป่าและพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช…

The 15th Botanical Conference of Thailand (การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15)

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเกียรติจากสมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (The 15th Botanical Conference of Thailand: BCT15) ในหัวข้อ “พฤกษศาสตร์สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: ความร่วมมือในระดับท้องถิ่นสู่ระดับสากล (Botany towards SDGs: from local to global…

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิชาการเกษตร & เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ & เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

24 พฤษภาคม 2566 นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมลแสวงผล ดูงานกรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หารือความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์โบราณคดี และแนะนำห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาฝึกงานวันนี้ อาจารย์และนักศึกษาเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ชมกล้องสเตอริโอทันสมัยที่ใช้ในการศึกษาเมล็ดวัชพืช รวมทั้งการเก็บพรรณวัชพืชตามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์พืช จากนั้นเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ดร.กิติพงษ์ ตั้งกิจ นำชมโดยเฉพาะห้องปฏิบัติการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของเนื้อไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัยศึกษาถ่านไม้ในแหล่งโบราณคดี สุดท้ายเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ประศาสตร์…

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิชาการเกษตร & เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ & เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

24 พฤษภาคม 2566 นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมลแสวงผล ดูงานกรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หารือความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์โบราณคดี และแนะนำห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาฝึกงานวันนี้ อาจารย์และนักศึกษาเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ชมกล้องสเตอริโอทันสมัยที่ใช้ในการศึกษาเมล็ดวัชพืช รวมทั้งการเก็บพรรณวัชพืชตามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์พืช จากนั้นเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ดร.กิติพงษ์ ตั้งกิจ นำชมโดยเฉพาะห้องปฏิบัติการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของเนื้อไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัยศึกษาถ่านไม้ในแหล่งโบราณคดี สุดท้ายเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ประศาสตร์…

ร่วมยินดีกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ และยินดีกับว่าที่บัณฑิตปีการศึกษา 2565

จากการที่คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มีผลงานวิจัยคุณภาพสูงหลายฉบับที่แสดงออกอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้เนื่องจากคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยทั้งด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สำคัญคือมีความร่วมมือระหว่างอาจารย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ และนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งนี้นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาโท-เอกได้มีโอกาสนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อให้นักศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรีที่ทำวิจัยในโครงการรุ่นพี่หรือปัญหาพิเศษชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้แสดงออกถึงความสามารถในการทำวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาจะได้รับทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณชน คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดให้มีการแสดงผลงานของนักศึกษากลุ่มนี้ ผลงานของนักศึกษาจะถูกถ่ายทอดไปยังบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง จึงกำหนดจัดนิทรรศการ SciEx2023 ในวันศุกร์ที่ 26…

Congratulations to Assoc. Prof. Kanchit Thammasiri on being appointed to the position. “PROFESSOR”

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ หน้า ๒๔เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ รวม ๑๗ ราย และ 1 ในจำนวนที่ได้รับการแต่งตั้งนี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล…

อบรมเชิงปฏิบัติการ การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 22 (The 22nd Scientific Illustration Workshop) 27-29 กรกฎาคม 2566

หลักการและเหตุผล ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ภาพวาดประกอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใช้เพื่ออธิบายความรู้ในสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจัดทำเอกสาร ตำรา และประกอบบทความในลักษณะต่างๆ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพจะก้าวหน้าไป แต่ภาพถ่ายก็ไม่อาจทดแทนภาพวาดได้ เพราะภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ได้จากการประมวลความรู้ กลั่นกรองข้อมูลออกมาเป็นภาพ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมีคุณค่าเทียบเท่ากับตำราในเรื่องนั้นๆ ผู้วาดต้องศึกษาตัวอย่างต้นแบบอย่างรอบด้าน สร้างสรรค์ขึ้นจากข้อมูลจริง และแสดงออกมาเป็นภาพที่ถูกต้อง แม่นยำ และสวยงาม ปัจจุบันภาพวาดทางวิทยาศาสตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง และเป็นที่ต้องการ ทั้งในแวดวงวิชาการ และเพื่อสุนทรียะ ภาควิชาพฤกษศาสตร์…