Month: April 2021

พบกับพี่ใบเตย​ ศิษย์เก่าปริญญาโท​ สาขาวิชา​ วิทยาการพืช​ หลักสูตรนานาชาติ ภาควิชาพฤกษศาสตร์​

#พฤกษศาสตร์พื้นบ้านมารู้จักอีกสาขาหนึ่งของวิชาพฤกษศาสตร์​ที่น่าจะถูกใจ​ ใครที่ชอบวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพืช​ และในขณะเดียวกัน​ ก็สนใจ​ ภาษา​ วัฒนธรรม​ รวมทั้งการแบกเป้เร่ร่อนพบปะพูดคุยกับคนในท้องถิ่น​ เรียนรู้บริบทความหลากหลายของภูมิปัญญาที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแยกไม่ได้ ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3782405158463657

พบกับพี่เน็ต​ นักศึกษาระดับปริญญาโท​ สาขาวิชา​ วิทยาการพืช​ หลักสูตรนานาชาติ ภาควิชาพฤกษศาสตร์​

#ชีวโมเลกุลพืช ชอบพืชแต่ไม่ชอบตากแดด​ จับดิน หยิบหนอน​ มาทางนี้เลย รู้จักงาน​ #plant_molecular_biology กับงานวิจัยยีนในยางพารา​ ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต​น้ำยาง และลดผลกระทบจากโรคทางพันธุกรรม พบกับพี่เน็ต​ นักศึกษาระดับปริญญาโท​ สาขาวิชา​ #วิทยาการพืช​ #หลักสูตรนานาชาติ #ภาควิชาพฤกษศาสตร์​ ที่ใช้ชีวิตวันๆ​ อยู่ในห้องแล็บแอร์เย็น​ มี​ wifi​ และมี​ paper​ ดีๆ​ ให้​ download​ มาอ่านได้ฟรี​ ตลอด​ 24​ ชั่วโมง​ 😁🥰…

ดูงานที่ National Biobank of Thailand (NBT) สวทช

อาจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พานักศึกษาชั้นปี 2 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ศึกษาดูงานที่ National Biobank of Thailand (NBT) สวทช.

“ดอกดินทยา” Kaempferia jenjittikuliae Noppornch.

ที่มา: https://www.facebook.com/133101993394010/posts/3767508703286636/“ดอกดินทยา”Kaempferia jenjittikuliae Noppornch.นายณัฐพล นพพรเจริญกุล นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ ตีพิมพ์พืชสกุลเปราะหอมชนิดใหม่ของโลกตั้งชื่อพืชชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ ผศ.ดร. ทยา เจนจิตติกุล ผู้เชี่ยวชาญพืชสกุลเปราะหอม (Kaempferia) ในประเทศไทย“The specific epithet, jenjittikuliae, is designated in honour of Dr. Thaya Jenjittikul, a ginger…