กำหนดการงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563 (ในรูปแบบออนไลน์)

ไฟล์ Powerpoint งานปฐมนิเทศ เรียนอย่างไร…ให้จบเร็ว (และมีคุณภาพ)โดย ศ.ดร.พญ.พัชรีย์ เลิศฤทธิ์คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการให้บริการสำหรับนักศึกษา & Soft Skillsโดย ผศ.ดร.นพ.ชูศักดิ์ โอกาสเจริญรองคณบดีฝ่ายการศึกษาดิจิทัล คลิปวิดีโองานปฐมนิเทศ กำหนดการงานปฐมนิเทศ ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2563 พบกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัย ศิษย์เก่า และพี่ๆ ศิลปิน ที่จะมาร่วมสร้างความภาคภูมิใจ และแรงบันดาลใจ ให้กับนักศึกษาใหม่ แบบ Online เตรียมตัวให้พร้อมและเข้าร่วมผ่านทาง Zoom…

วิชาศึกษาทั่วไป​ วิชาใหม่เพิ่งเปิดปีนี้เป็นครั้งแรก SCGE240

ขอประชาสัมพันธ์รายวิชาใหม่ล่าสุดของภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดลรายวิชาที่จะช่วยเปิดโลกในการสร้างผู้ประกอบการที่ผลักดันด้วยนวัตกรรม จากตัวอย่างธุรกิจนวัตกรรมจากพืช หากคุณ🔥เป็นคนมีไอเดีย🔥มี passion ในการทำธุรกิจ🔥อยากมีนวัตกรรมเป็นของตัวเองเราอยากชวนมาช่วยกันปล่อยพลัง ในรายวิชาใหม่ SCGE 240 Plant Science Innovation-driven entrepreneurship ทุกวันพฤหัสบดี 9.30-12.20น. เทอม 1/2020 👩‍⚕️👨‍⚕️สำหรับนศ.ปี 2-4 ภาคไหนก็ได้ ร่วมสอนโดยทีมโค้ชระดับประเทศ 📲สนใจติดต่อ อ.วิษุวัต สงนวล wisuwat.son@mahidol.eduหน่วยกรีนโซลูชั่นฯ ภาควิชาพฤกษศาสตร์

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ฯ​ ประสานงานการเลือกภาพพรรณไม้สำหรับแต่งผนังห้องที่ตึก​ L​ ศาลายา

เปิดเทอมใหม่ที่จะถึงนี้​ ห้องเรียนใหญ่​ตึก​ L1 และ​ L2​ ของเราที่คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ วิทยาเขตศาลายา​ จะมีดอกไม้บานสีสวยสดใส​ พร้อมสำหรับการเรียนแบบ​ social​ distancing​ ห้องละ​ 120​ คน L1เหลือง​ “รวงผึ้ง” พึงใจ​ม่วง​ “กันภัยมหิดล”แสดชวนยล​ “สิรินธรวัลลี”เขียวมณี​ “พวงหยก” L2“ศรีตรัง” ม่วงละออชมพูช่อ​ ปทุมมาส้มระย้า​ “สร้อยสยาม”เหลืองอร่าม​ “ราชพฤกษ์” คาดว่าการปรับปรุงห้องจะค่อยๆ​ ทยอยแล้วเสร็จในปีการศึกษานี้

บทเรียนบทเล่น​ผ่าน Zoom​ กับอาจารย์สาโรจน์​ รุจิสรรค์สกุล​ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์

ค่ายเสริมสร้างวิชาการ​ ต้อนรับนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่​ 1​ ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ​ วันนี้​ ถ่ายทอดสดจาก​ห้อง​ K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติเริ่มต้นด้วยบทเรียนบทเล่น​ผ่าน Zoom​ กับอาจารย์สาโรจน์​ รุจิสรรค์สกุล​ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์

โครงการ Eco-No-Mow: Eco-Friendly Landscaping

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะ นางสาว พรหมพร นุ่มเออ และนางสาว พชรวรรณ สอนโยธา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ ที่เป็น 3 ใน 7 ทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบการประกวด Mahidol University Innovation for Campus Sustainability 2020 โดยทั้งสามทีมจะได้รับทุนพัฒนาข้อเสนอทีมละ 15,000 บาท และส่งผลงานชิงชนะเลิศต่อไป ทั้งสามทีม ได้แก่✅ ทีม…

ต้อนรับ​ IDEA: Innovation driven Entrepreneurship​ Academy​ เข้าเยี่ยมรับฟังแผนการดำเนินงานศูนย์​ GSFL: Green​ Solutions​ for​ Future​ Living ของภาควิชาฯ

ที่มา: www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3077768768927303 ศูนย์​ #GSFL Green​ Solutions​ for​ Future​ Living​ ภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ ต้อนรับ​ คณะวิทยากรจาก​#สถาบันวิทยาการนวัตกรรมผู้ประกอบการ #IDEA: Innovation driven Entrepreneurship​ Academy​ เข้าเยี่ยมรับฟังแผนการดำเนินงานบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านพืชและพฤกษศาสตร์​ โดยคาดว่าจะมีความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่​ เชื่อมโยงนวัตกรรมด้านพืชและพฤกษศาสตร์สู่สังคม

“ศรีตรัง​” อดีตเคยใช้เป็นต้นไม้ประจำคณะฯ และมหาวิทยาลัยฯ

ที่มา: www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3074960629208117 #101x1in100PlantScienceStories “ศรีตรัง​” จากแดนไกล​ มีชื่อเป็นต้นไม้ประจำสถานศึกษาหลายแห่ง และยังมีเพลงที่มีชื่อศรีตรังมากมายหลาย​เพลง​หนึ่งในนั้น​ ได้รับเกียรติแต่งทำนองโดย​ครูเอื้อ​ สุนทรสนาน​ และขับร้องโดยคณะสุนทราภรณ์อันลือลั่นในอดีต​ (ลิงค์เพลงในแคปชั่นโน้ตเพลง)​ ศาสตราจารย์สตางค์​ มงคลสุข​ผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์​ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยมหิดล​ ชื่นชอบต้นไม้ชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง​ ทั้งคณะวิทยาศาสตร์​ และมหาวิทยาลัยมหิดล​ จึงเคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำคณะฯ​ และมหาวิทยาลัยฯ​ ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข บุกเบิกก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ ศรีตรังก็กลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแห่งนั้นด้วย​ ทั้งนี้ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนไปใช้ต้น​ “กันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน ศรีตรังเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของทวีปอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้​ ชื่อวิทยาศาสตร์​ Jacaranda​…

101 ปีชาตกาล​ ศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข

ที่มา: www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3071438666226980 ศ.​ ดร.สตางค์ มงคลสุข​ (15 กรกฎาคม 2462 – 6 กรกฎาคม 2514)เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางด้านอินทรีย์เคมีและสมุนไพร และเป็นนักบริหารการศึกษาระดับสูงของชาติ โดยเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้ขยายจนเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อระลึกถึงบูรพาจารย์​ “หนึ่งในร้อย” ผู้วางรากฐานการอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ​ 101​ ปีชาตกาล​ของศาสตราจารย์สตางค์​ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ ขอเชิญชวนนักวิทยาศาสตร์ โพสต์เรื่องราวความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในแง่มุมใดก็ได้ใน​…

ปัจฉิมนิเทศออนไลน์ บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาปี 2562(รหัส59)

ปัจฉิมนิเทศ สำหรับบัณฑิตผู้จบการศึกษาปี 2562 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องด้วยอยู่ช่วงเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของ covid-19 ภาควิชาพฤกษศาสตร์จึงได้จัดงานปัจฉิมนิเทศออนไลน์ผ่านโปรแกรม WebEx สำหรับบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาปี 2562 ในวันจันทร์ ที่ 13 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 น.-12.00 น. โดยมีคณาจารย์ภาควิชาฯ ร่วมออนไลน์ ได้พบปะทักทายบัณฑิต ให้บัณฑิตได้กล่าวความรู้สึกต่อภาควิชาฯ และถ่ายภาพร่วมกันผ่านทางออนไลน์

มารู้จักช็อกโกแล็ตกันหน่อย

ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3052802588090588 7 กรกฎาคม #วันช็อกโกแล็ตสากล​มารู้จักช็อกโกแล็ตกันหน่อย ช็อกโกแล็ต ผลิตจากผงและเนยโกโก้ ซึ่งได้จากการบดเมล็ดคาเคา (Theobroma cacao L.)โกโก้ cocoa ใช้เรียกชื่อผลิตภัณฑ์คาเคา cacao คือต้นไม้ที่ให้โกโก้​ แต่ถ้าจะเรียก​ “ต้นโกโก้” ก็คงพอได้​ คือหมายถึง “ต้น (ที่ให้)​โกโก้”ไม่งงนะไม่งง คาเคาเป็นไม้ต้นในวงศ์ชบา Malvaceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง ปัจจุบันผู้ผลิตรายใหญ่มากกว่า 1 ใน 3 ของผลผลิตทั้งโลก คือประเทศไอโวรีโคสต์…