มะกอกดอน Schrebera swietenioides Roxb.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Schrebera swietenioides Roxb.

วงศ์ Oleaceae วงศ์มะลิ

ชื่ออื่น  กอกดอน มะกอกโคก มะกอกเผือก มะกักป่า หีผี โยนีปีศาจ

          ไม้ต้นผลัดใบ สูงถึง 15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก หรือเรียงกึ่งตรงข้าม ใบย่อยประมาณ 3 คู่ รูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3.5 ซม. ยาว 6.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบกลมและเบี้ยว เส้นกลางใบนูนเด่นชัดด้านล่างใบแกนกลางใบยาว 9-10 ซม. ก้านใบยาว 6.5-9 ซม. ก้านใบย่อยยาว 5-6 มม. ดอกช่อ แบบช่อกระจุกประกอบ มีดอกข้าง 1-2 ดอก ออกที่ปลายยอด พร้อมกับการแตกกิ่งใหม่ในต้นฝน ช่อดอกยาวประมาณ 10 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. ดอกบานตอนค่ำ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 มม. ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายหยักเป็น 2-3 พู ลึกประมาณ 1 มม. พูมน สีเขียวอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 มม. ปลาย 2.5-3 มม. สีขาวอมเขียวอ่อน ปลายแยกเป็น (5-) 6 กลีบ รูปกึ่งสามเหลี่ยมกลับ กว้าง   ยาว 6-7 มม. ด้านในสีขาว มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มปกคลุมประปราย ด้านนอกเกลี้ยง กลีบดอกมักม้วนกลับตามยาว ทำให้กลีบดูแคบลง   เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดบนปลายหลอดกลีบดอก รูปรีกว้าง รังไข่เหนือวงกลีบ รูปกึ่งทรงกลมแบนด้านข้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มม. ก้านชูอับเรณูยาว 6.5 มม ยอดเกสรเพศเมียกวว้างประมาณ 1 มม. สีน้ำตาลเข้ม ผลแห้งแตกเป็นสองซีก

ระยะเวลาออกดอก  ออกดอกเมื่อเริ่มแตกกิ่งขึ้นมาพร้อมกับใบ ในเดือนมีนาคม (2562)

นิเวศวิทยา  พบขึ้นตามป่าเต็งรัง บนเขาหินปูน

การกระจายพันธุ์   อินเดีย ถึงอินโดจีน (powo, 2020)

ประโยชน์ ราก เปลือก และใบมีรสขม มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเสีย และใช้พอกแผลทั้งในคนและสัตว์เลี้ยง (www.dnp.go.th, 2562)

การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด

ตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิง  MU-SCPL-2562-120 (28 มี.ค. 2562 ตย.ดอก, เขื่อนศรีนครินทร์)

You missed