Category: Uncategorized-en

ทีม Colourganic ได้รับรางวัล Finalist ในงาน IDE Competition 2022

ขอแสดงความยินดีกับทีม Colourganic นวัตกรรมการย้อมผมจากต้นเทียนกิ่ง โดยทีมนำความรู้ทางด้านสมุนไพรมาผสมกับเทคโนโลยี polymer hair dye แทนการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งทีมประกอบไปด้วยน.ส. กชกร ผ่องใส นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ น.ส. ชรนันท์ บวรพงษ์สกุล นักศึกษาภาควิชาเคมีจากมหาวิทยาลัยมหิดล และน.ส. ปิยะมล อินทรพาณิชย์ นักศึกษาภาควิชาบัญชีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัล Finalist จากการประกวดนวัตกรรม ในงาน IDE Competition 2022 ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในวันเสาร์ที่ 26…

VDO Special lecture โดย อ.​ ดร.วรางรัตน์ ง่วนชู

VDO Special lectureวิชา Selected Topics in Plant Science (Only for SCPL students)“PLANTS, PEOPLE, PLANET”“คนเขา เรา พืช”โดย อ.​ ดร.วรางรัตน์ ง่วนชูVarangrat Nguanchooมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 19 มกราคม เวลา 10.30-12.20

VDO Special lecture โดย นางสาวพิรดา สุมานนท์

Special lecture วิชา Selected Topics in Plant Science (เฉพาะนักศึกษาในภาควิชา)“Taxonomy, Phylogeny, Evolution: filling the gaps in biodiversity knowledge”โดย นางสาวพิรดา สุมานนท์Aarhus Universitet, Denmark26 มกราคม เวลา 15.30-17.00

อ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ได้รับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ปี 2564

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ อ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ที่ได้รับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ปี 2564

การขยายพันธุ์ต้นกะเพราหินปูน (Coleus albicalyx (Suddee) Suddee) พืชหายากของประเทศไทยในหลอดทดลอง

นักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง “การขยายพันธุ์ต้นกะเพราหินปูน (Coleus albicalyx (Suddee) Suddee) พืชหายากของประเทศไทยในหลอดทดลอง” ใน วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 26 (ฉบับที่ 3) กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2564 หน้าที่ 1707 – 1725 ต้นกะเพราหินปูนเป็นพืชที่กระจายพันธุ์ในบริเวณภูเขาหินปูน โดยพบการกระจายพันธุ์ในจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี…

ชีววิทยาการถ่ายเรณูและชีววิทยาดอกในพู่ม่วงสยาม (Argyreia siamensis)พืชหายากถิ่นเดียวในประเทศไทย

น.ส. อวภาส์ จิรบรรจงจิต นักศึกษาปริญญาโท ร่วมกับ รศ. ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม, ผศ. ดร. อลิสา สจว๊ต และ ดร. โทโมกิ ซานโด ร่วมกันตีพิมพ์งานวิจัย ชีววิทยาการถ่ายเรณูและชีววิทยาดอกในพู่ม่วงสยาม (Argyreia siamensis)พืชหายากถิ่นเดียวในประเทศไทย Pollination and Floral Biology of a Rare Morning Glory…

แข่งขันตอบคำถาม “ต้นนี้ ชื่ออะไร”

ภาควิชา #พฤกษศาสตร์#คณะวิทยาศาสตร์#มหาวิทยาลัยมหิดลขอเชิญน้อง ๆ ระดับ #มัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมกิจกรรม #แข่งขันตอบคำถาม วิชาการ“ต้นนี้ ชื่ออะไร”60 คำถาม 60 ภาพ 4 ตัวเลือก 1 นาทีรอบที่ 1 –> 20 ภาพ 20 ชื่อวงศ์ รอบที่ 2 -​-> 20 ภาพ 20 ชื่อไทยรอบที่ 3​ -​->…

Evaluating the drought endurance of landscaping ground cover plants in a roof top model.

สิ่งแวดล้อมของสวนหลังคา สวนริมถนน หรือสวนที่มีการดูแลรักษาต่ำในเขตร้อนจะมีอุณหภูมิสูง ปริมาณแสงแดดมาก และความชื้นในดินน้อย ซึ่งสภาพเหล่านี้ก่อเกิดภาวะเครียดแก่ต้นพืช การเลือกใช้พรรณไม้ที่มีความทนทานจะช่วยรักษาความสวยงามของสวนได้ อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลคุณสมบัตินี้ของพืชในงานภูมิทัศน์ของประเทศไทยมีจำกัด เป็นอุปสรรคต่อการเลือกใช้พรรณไม้ของภูมิสถาปนิก องค์ความรู้ของการตอบสนองของไม้คลุมดินบางชนิดภายใต้รูปแบบจำลองสภาพสวนหลังคาที่ไม่มีการให้น้ำ (non-irrigated rooftop model) ถูกนำมาต่อยอดเพื่อค้นหาดัชนีประเมินความทนทานต่อการขาดน้ำโดยยังมีความสวยงาม ด้วยการศึกษากับไม้คลุมดินการค้าจำนวน 25 ชนิด พบว่า ดัชนีที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดระดับความทนทานมี 3 ลักษณะ คือ ปริมาณน้ำในใบ อัตราการเปิดปากใบ และคะแนนความสวยงาม เมื่อนำตัวชี้วัดทั้งสามไปจัดระดับความทนทานต่อการขาดน้ำด้วย cluster analysis พบว่า กลุ่มไม้คลุมดินที่มีระดับความทนทานมากจะมีปริมาณน้ำในใบสูง…