Author: Sombat Sriwanngarm

Evaluating the drought endurance of landscaping ground cover plants in a roof top model.

สิ่งแวดล้อมของสวนหลังคา สวนริมถนน หรือสวนที่มีการดูแลรักษาต่ำในเขตร้อนจะมีอุณหภูมิสูง ปริมาณแสงแดดมาก และความชื้นในดินน้อย ซึ่งสภาพเหล่านี้ก่อเกิดภาวะเครียดแก่ต้นพืช การเลือกใช้พรรณไม้ที่มีความทนทานจะช่วยรักษาความสวยงามของสวนได้ อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลคุณสมบัตินี้ของพืชในงานภูมิทัศน์ของประเทศไทยมีจำกัด เป็นอุปสรรคต่อการเลือกใช้พรรณไม้ของภูมิสถาปนิก องค์ความรู้ของการตอบสนองของไม้คลุมดินบางชนิดภายใต้รูปแบบจำลองสภาพสวนหลังคาที่ไม่มีการให้น้ำ (non-irrigated rooftop model) ถูกนำมาต่อยอดเพื่อค้นหาดัชนีประเมินความทนทานต่อการขาดน้ำโดยยังมีความสวยงาม ด้วยการศึกษากับไม้คลุมดินการค้าจำนวน 25 ชนิด พบว่า ดัชนีที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดระดับความทนทานมี 3 ลักษณะ คือ ปริมาณน้ำในใบ อัตราการเปิดปากใบ และคะแนนความสวยงาม เมื่อนำตัวชี้วัดทั้งสามไปจัดระดับความทนทานต่อการขาดน้ำด้วย cluster analysis พบว่า กลุ่มไม้คลุมดินที่มีระดับความทนทานมากจะมีปริมาณน้ำในใบสูง…

Review พฤกษศาสตร์ มหิดล 2021 นายอธิกมาส ขำสุวรรณ ฝึกงาน: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร

Review พฤกษศาสตร์ มหิดล 2021นายอธิกมาส ขำสุวรรณฝึกงาน: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่มา: https://fb.watch/69gLYEUGP4/

ดอกดินสกุลเปราะในประเทศไทย

ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3899425060094999 พืชสกุลเปราะหอม (genus Kaempferia) จำแนกออกเป็น 2 สกุลย่อย คือ สกุลย่อยเคมฟีเรีย/เปราะ (subgenus Kaempferia) และ สกุลย่อยโพรแทนเธียม/ดอกดิน (subgenus Protanthium) ทุกชนิดภายในสกุลย่อยโพรแทนเธียม จะสร้างช่อดอกจากลำต้นใต้ดิน(เหง้า)โดยตรง แทงขึ้นเหนือผิวดิน และพัฒนาก่อนที่จะมีลำต้นเทียมและใบ เป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “ดอกดินสกุลเปราะ” ดอกดินสกุลเปราะในประเทศไทยKaempferia subgenus Protanthium in Thailand ปัจจุบันพบดอกดินสกุลเปราะจำนวน 12 ชนิด1…

การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6 (TURFPaG6)

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับรางวัลจาก **การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6** #TURFPaG 6 จัดโดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ pitching และรางวัลชมเชย การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ นางสาวศิรัสธร นาคแดง จากผลงานวิจัย…

IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation(Biotech 2021)

(Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal aspects) At Faculty of Science, Mahidol University, Bangkok, Thailand ที่มา: https://plantscience.sc.mahidol.ac.th/biotech2020/ Welcome Committees Keynote and Invited Speakers Paper Submissions Important Deadlines Program Online Registration…

poster พรรณไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 1 (ฉบับแก้ไข)

poster พรรณไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 1 (ฉบับแก้ไข)ผลงานของ นางสาวพรหมพร นุ่มเออ Nampueng Potter นักศึกษาชั้นปีที่ 3 อาจารย์ทยา เจนจิตติกุล อาจารย์สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล Saroj Ruchisansakunเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสีศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จ.เชียงใหม่ ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3853280844709421

นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์​ Flora_ICON_2021: The First Botanical Art Exhibition at the ICONSIAM

เรียนผู้สนใจ คณะกรรมการจัดงานนิทรรศการ​ Flora​ Icon​ 2021​ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจส่งภาพเข้าร่วมคัดเลือกเพื่อจัดแสดงในนิทรรศการ​ Flora​ Icon​ 2021​ แต่อาจเนื่องจากสถานการณ์​การแพร่ระบาด​ของเชื้อไวรัส​โควิด​ 19​ ทำให้จำนวนภาพจากผู้สนใจซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมาก​ แต่ไม่มากพอที่จะดำเนินการจัดนิทรรศการได้ คณะกรรมการฯ​ ขออภัยที่จะต้องยกเลิกการจัดงาน​ ณ​ ดิไอคอนสยามในปีนี้ อย่างไรก็ตาม​ ภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยา​ศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ ร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ยังคงกำหนดการจัดแสดงภาพในเดือนพฤศจิกายน​ 2564​ นี้ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ​ ด้วยกติกาเดิม​ (เฉพาะภาพ​ botanical illustration และ​ botanical​…

การขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านด้วยการปักชำ

โดยทั่วไปเกษตรกรขยายพันธุ์ “ทุเรียนพันธุ์” อร่อยๆ​ ด้วยการเสียบยอดบนต้นกล้าทุเรียนพื้นบ้าน แต่มันง่ายไป! เชื่อหรือไม่ว่า​ “#ทุเรียนพื้นบ้าน” ต้นอร่อย มีอยู่เพียงต้นเดียวเท่านั้น​ เพราะแต่ละต้นมาจากเมล็ดที่ได้จากการผสมข้ามต้นโดยค้างคาว ทุเรียนพื้นบ้านต้นสูง​ อายุหลายสิบปีจนถึง​ 200​ ปีก็มี! ขยายพันธุ์ทุเรียนเด็กๆ​ เสียบยอดไม่กี่วันก็ติดดี​ แตกใบสวยงาม​ เอาไปลงปลูกได้ แต่ทำยังไงจะอนุรักษ์และขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน​ ต้นแก่วัยชรา มาคุยเรื่อง​ #การขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านด้วยการปักชำโดยตรง​ กับ​ ผศ.​ ดร.#อุษณีษ์_พิชกรรม​ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์​ มหา​วิทยาลัย​มหิดล ที่มา: https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/297516878394567/

การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในกลุ่ม หนาวเดือนห้า (Erycibe) 3 ชนิด จากประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย

นายพงศกร โกฉัยพัฒน์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก และ รศ.ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม ร่วมกับ Dr. Timothy M.A. Utteridge จากสวนพฤกษศาสตร์ Kew ประเทศอังกฤษ ร่วมกันตีพิมพ์การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในกลุ่ม หนาวเดือนห้า (Erycibe) 3 ชนิด จากประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3823495734354599