Category: Uncategorized

นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๓ ปี การก่อตั้ง “เครือข่ายวิทย์สานศิลป์”
สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์
Botanical Art Thailand 2022

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ซึ่งก่อตั้งขึ้น ณ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ริเริ่มโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ให้แก่เยาวชน นักวิจัย และประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีการถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อใช้ประกอบในห้องเรียน บทความวิจัย และเป็นงานอดิเรก กระทั่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยมีผลงานภาพวาดเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จัดนิทรรศการแสดงภาพวาดพฤกษศาสตร์ ณ…

การขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านด้วยการปักชำ

โดยทั่วไปเกษตรกรขยายพันธุ์ “ทุเรียนพันธุ์” อร่อยๆ​ ด้วยการเสียบยอดบนต้นกล้าทุเรียนพื้นบ้าน แต่มันง่ายไป! เชื่อหรือไม่ว่า​ “#ทุเรียนพื้นบ้าน” ต้นอร่อย มีอยู่เพียงต้นเดียวเท่านั้น​ เพราะแต่ละต้นมาจากเมล็ดที่ได้จากการผสมข้ามต้นโดยค้างคาว ทุเรียนพื้นบ้านต้นสูง​ อายุหลายสิบปีจนถึง​ 200​ ปีก็มี! ขยายพันธุ์ทุเรียนเด็กๆ​ เสียบยอดไม่กี่วันก็ติดดี​ แตกใบสวยงาม​ เอาไปลงปลูกได้ แต่ทำยังไงจะอนุรักษ์และขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน​ ต้นแก่วัยชรา มาคุยเรื่อง​ #การขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านด้วยการปักชำโดยตรง​ กับ​ ผศ.​ ดร.#อุษณีษ์_พิชกรรม​ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์​ มหา​วิทยาลัย​มหิดล ที่มา: https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/297516878394567/

ดูงานที่ National Biobank of Thailand (NBT) สวทช

อาจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พานักศึกษาชั้นปี 2 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ศึกษาดูงานที่ National Biobank of Thailand (NBT) สวทช.

บรรยากาศงานนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 3”

ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3284775688226609 22 กันยายน 2563 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดงาน นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 3” Botanical Art Thailand 2020 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ประธานการจัดงานกล่าวรายงาน และ อาจารย์พันธุ์ศักดิ์…

“ศรีตรัง​” อดีตเคยใช้เป็นต้นไม้ประจำคณะฯ และมหาวิทยาลัยฯ

ที่มา: www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3074960629208117 #101x1in100PlantScienceStories “ศรีตรัง​” จากแดนไกล​ มีชื่อเป็นต้นไม้ประจำสถานศึกษาหลายแห่ง และยังมีเพลงที่มีชื่อศรีตรังมากมายหลาย​เพลง​หนึ่งในนั้น​ ได้รับเกียรติแต่งทำนองโดย​ครูเอื้อ​ สุนทรสนาน​ และขับร้องโดยคณะสุนทราภรณ์อันลือลั่นในอดีต​ (ลิงค์เพลงในแคปชั่นโน้ตเพลง)​ ศาสตราจารย์สตางค์​ มงคลสุข​ผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์​ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยมหิดล​ ชื่นชอบต้นไม้ชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง​ ทั้งคณะวิทยาศาสตร์​ และมหาวิทยาลัยมหิดล​ จึงเคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำคณะฯ​ และมหาวิทยาลัยฯ​ ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข บุกเบิกก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ ศรีตรังก็กลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแห่งนั้นด้วย​ ทั้งนี้ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนไปใช้ต้น​ “กันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน ศรีตรังเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของทวีปอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้​ ชื่อวิทยาศาสตร์​ Jacaranda​…

ปัจฉิมนิเทศออนไลน์ บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาปี 2562(รหัส59)

ปัจฉิมนิเทศ สำหรับบัณฑิตผู้จบการศึกษาปี 2562 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องด้วยอยู่ช่วงเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของ covid-19 ภาควิชาพฤกษศาสตร์จึงได้จัดงานปัจฉิมนิเทศออนไลน์ผ่านโปรแกรม WebEx สำหรับบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาปี 2562 ในวันจันทร์ ที่ 13 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 น.-12.00 น. โดยมีคณาจารย์ภาควิชาฯ ร่วมออนไลน์ ได้พบปะทักทายบัณฑิต ให้บัณฑิตได้กล่าวความรู้สึกต่อภาควิชาฯ และถ่ายภาพร่วมกันผ่านทางออนไลน์

ผลงานของนักศึกษา​หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือก​ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น​ ประจำปี​การศึกษา​ 2563

ผลงานของนักศึกษา​ #หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ​ ที่มีผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.อัญชีรา​ วิบูลย์จันทร์​ และผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.พนิดา​ คงสวัสดิ์วรกุล​ภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์​ และผู้เขียนร่วม​ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือก​ #รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น​ ประจำปี​การศึกษา​ 2562ชมการนำเสนอออนไลน์ได้ในวันที่​ 14​ กรกฎาคม​ 2563​ นี้ Sae-Lim P., Naktang C., Yoocha T., Nirapathpongporn K., Viboonjun U., Kongsawadworakul P.,…

วิจัย “หญ้าไหวทาม” ยามชายฝั่งตรวจน้ำมันรั่ว ช่วยระบบนิเวศ

ที่มา: https://www.facebook.com/PlantScienceMUSC/posts/3026310754073105ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/886737 นางสาวญาณิศา โอฬารานนท์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ศึกษาวิจัย เรื่อง “ผลกระทบของน้ำมันดิบต่อพืชชายฝั่งทะเล” กล่าวเสริมว่า พืชเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญต่อระบบนิเวศ โดยพืชชายฝั่งทะเลเปรียบเสมือน “ยามชายฝั่ง” ที่อาจตรวจจับการรั่วไหลของน้ำมันและส่งสัญญาณให้เรารับรู้ได้แม้ว่ามีการปนเปื้อนเพียงเล็กน้อย