Category: recent

ร่วมยินดีกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ และยินดีกับว่าที่บัณฑิตปีการศึกษา 2565

จากการที่คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มีผลงานวิจัยคุณภาพสูงหลายฉบับที่แสดงออกอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้เนื่องจากคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยทั้งด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สำคัญคือมีความร่วมมือระหว่างอาจารย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ และนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งนี้นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาโท-เอกได้มีโอกาสนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อให้นักศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรีที่ทำวิจัยในโครงการรุ่นพี่หรือปัญหาพิเศษชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้แสดงออกถึงความสามารถในการทำวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาจะได้รับทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณชน คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดให้มีการแสดงผลงานของนักศึกษากลุ่มนี้ ผลงานของนักศึกษาจะถูกถ่ายทอดไปยังบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง จึงกำหนดจัดนิทรรศการ SciEx2023 ในวันศุกร์ที่ 26…

Congratulations to Assoc. Prof. Kanchit Thammasiri on being appointed to the position. “PROFESSOR”

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ หน้า ๒๔เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ รวม ๑๗ ราย และ 1 ในจำนวนที่ได้รับการแต่งตั้งนี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล…

อบรมเชิงปฏิบัติการ การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 22 (The 22nd Scientific Illustration Workshop) 27-29 กรกฎาคม 2566

หลักการและเหตุผล ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ภาพวาดประกอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใช้เพื่ออธิบายความรู้ในสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจัดทำเอกสาร ตำรา และประกอบบทความในลักษณะต่างๆ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพจะก้าวหน้าไป แต่ภาพถ่ายก็ไม่อาจทดแทนภาพวาดได้ เพราะภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ได้จากการประมวลความรู้ กลั่นกรองข้อมูลออกมาเป็นภาพ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมีคุณค่าเทียบเท่ากับตำราในเรื่องนั้นๆ ผู้วาดต้องศึกษาตัวอย่างต้นแบบอย่างรอบด้าน สร้างสรรค์ขึ้นจากข้อมูลจริง และแสดงออกมาเป็นภาพที่ถูกต้อง แม่นยำ และสวยงาม ปัจจุบันภาพวาดทางวิทยาศาสตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง และเป็นที่ต้องการ ทั้งในแวดวงวิชาการ และเพื่อสุนทรียะ ภาควิชาพฤกษศาสตร์…

การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 8

การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 8 (งานประชุมพฤกษศาสตร จุฬา-เกษตร-มหิดล) ในการนี้ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพในปีนี้ นักศึกษาทุกคนนำเสนอผลงานได้อย่างดีเยี่ยม และขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล ได้ 4 รางวัลจากการนำเสนอผลงานระดับชาติในการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (TURFPaG#8) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รางวัลนำเสนอแบบบรรยายระดับดีมาก: น.ส. บุญญาพร มะลิวัลย์ ​…

A novel rubber tree PR-10 protein involved in host-defense response against the white root rot fungus Rigidoporus microporus

โปรตีน PR-10 ชนิดใหม่มีความเกี่ยวข้องกับกลไกป้องกันตัวเองของต้นยางพาราเมื่อติดเชื้อโรครากขาว (A novel rubber tree PR-10 protein involved in host-defense response against the white root rot fungus Rigidoporus microporus) โรครากขาวในยางพาราเป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ปลูกยางในประเทศไทยและหลายประเทศผู้ผลิตยางทั่วโลก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบโปรตีนทั้งระบบของใบยางพาราที่เปลี่ยนไปเมื่อต้นยางพาราติดเชื้อโรครากขาว เพื่อทำความเข้าใจการตอบสนองและกลไกการป้องกันตัวเองของต้นยางพารา งานวิจัยนี้พบโปรตีนหลายชนิด รวมถึงโปรตีนตัวหนึ่งที่เพิ่มขึ้นสูงมากอย่างเห็นได้ชัด แต่ไม่มีการรายงานหน้าที่หรือจัดกลุ่มมาก่อน (uncharacterized protein) งานวิจัยนี้จึงใช้การทำนายโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีนต่างๆ…

ศึกษาดูงานสวนพฤกษศาสตร์ & Flora Exhibition Hall & กิจกรรมเก็บขยะที่หาดแสงจันทร์ & ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลน จ.ระยอง

การศึกษาดูงาน (Study trip) คือ การศึกษานอกสถานที่รูปแบบหนึ่งเพื่อการเรียนรู้ และแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆที่คาดหวังว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร หน่วยงาน หรือปรับปรุงกระบวนการทำงานในบทบาทหน้าที่สำคัญของแต่ละบุคคล ทั้งปัจจัยความสำเร็จและปัญหาอุปสรรค/ข้อควรระวังที่จะได้เรียนรู้จากองค์กรที่ไปศึกษาดูงานทั้งยังเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศโดยการไปพบเห็นสิ่งใหม่ซึ่งสามารถเสริมสร้างแนวคิดใหม่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการพัฒนาบุคลากรที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้กับบุคลากร และนักศึกษา อีกทั้งเป็นการเปิดมุมมองที่จะรับการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ สร้างความพร้อมให้แก่ทั้งตัวบุคลากรเอง และสร้างผลสัมฤทธิ์ให้แก่ทีมงาน/หน่วยงาน และองค์กร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ผู้ที่ไปศึกษาดูงานต้องใช้ทักษะการสอบถาม การสังเกต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานจากสถาบันที่ไปศึกษาดูงาน ในการนี้ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ศึกษาดูงานยังองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีความรู้ เกิดประสบการณ์ ระหว่างวันที่…

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มาดูงานที่พิพิธภัณฑ์พระราม 9

ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล พานักศึกษาชั้นปีที่ 2 มาดูงานที่พิพิธภัณฑ์พระราม 9 โดยมี ดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล ศิษย์เก่าของภาควิชา มาเป็นวิทยากร ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล พานักศึกษาชั้นปีที่ 2 มาดูงานที่พิพิธภัณฑ์พระราม 9 โดยมี ดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล ศิษย์เก่าของภาควิชา มาเป็นวิทยากร