• หน้าหลัก
  • ลงทะเบียน
  • รายชื่อผู้ลงทะเบียน
  • รูปแบบการนำเสนอ
  • ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา

การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 และ
การประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3

The 7th Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics (TURFPaG)
and The 3rd Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics (T-JuRFPaG)

หลักการและเหตุผล

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำริให้มีการนำเสนอผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ฯ ในรูปแบบการประชุมวิชาการ โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงการพิเศษพฤกษศาสตร์ (Senior Project) ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2546 ต่อมา คณาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชของนักศึกษาปริญญาตรีจากทั้งสองสถาบันการศึกษาขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพเป็นประจำทุกปี และได้เชิญนิสิตนักศึกษา จากหลายคณะ/สถาบันจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วม ซึ่งในปี พ.ศ. 2549 ใช้ชื่อการประชุมว่า Plant Science Plus ครั้งที่ 2 ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า “การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์” เป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2558 ใช้ชื่อว่าการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จาก 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สลับกันเป็นเจ้าภาพหลักตามลำดับ

เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศในแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ที่มุ่งหวังให้กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศและมีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ซึ่งสถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจะจัด “การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7” หรือ “The Seventh Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics (The 7th TURFPaG)” และ “การประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3” หรือ “The Third Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics (The 3rd T-JuRFPaG)” ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 8.30-17.30 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการ เป็นเวทีการนำเสนอผลงาน และเปิดโอกาสให้ทั้งนักเรียน นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน สร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ในการนี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ร่วมส่งบทคัดย่อเพื่อรับการพิจารณาเข้านำเสนอผลงาน ขอเชิญครู อาจารย์ และผู้สนใจเข้ารับฟังการนำเสนอผลงาน ฟังการบรรยายพิเศษ และร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสวนาในการประชุมในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการของนักเรียน นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล
  2. เพื่อเป็นเวทีของการนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ของนักเรียน และนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี
  3. เพื่อเชื่อมโยง และพัฒนาเครือข่ายงานวิจัยทางด้านพืชและพันธุศาสตร์ระหว่างโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

คณะทำงาน

คณะกรรมการที่ปรึกษา

  1. รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. รศ. ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. รศ. ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. รศ. ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. อ. ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. ผศ. ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. ผศ. ดร.นพ.พรรษกร ตันรัตนะ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  9. ผศ. ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  10. คุณวรัษยา สุนทรศารทูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. ผศ. ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  12. รศ. ดร.สีหนาท ประสงค์สุข หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  13. ผศ. ดร.ณัฎฐา เสนีวาส หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะกรรมการดำเนินงาน

  1. รศ. ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม มหาวิทยาลัยมหิดล ประธาน
  2. ผศ. ดร.วิษุวัต สงนวล มหาวิทยาลัยมหิดล รองประธาน
  3. รศ. ดร.พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  4. รศ. ดร.ณัฏฐินี พันธ์วิศวาส มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  5. ผศ. ดร.อุษณีษ์ พิชกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  6. ผศ. ดร.ทยา เจนจิตติกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  7. ผศ. ดร.งามนิจ ชื่นบุญงาม มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  8. ผศ. ดร.พนิดา คงสวัสดิ์วรกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  9. ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  10. รศ. ดร.ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
  11. รศ. ดร.รัชนีกร ธรรมโชติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
  12. ผศ. ดร.กนกวรรณ เสรีภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
  13. ผศ. ดร.ชนิตา ปาลิยะวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
  14. ผศ. ดร.อัญชลี ใจดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
  15. รศ. ดร.ศรีสม สุวรรณวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  16. รศ. ดร.สรัญญา วัชโรทัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  17. รศ. ดร.ประศาสตร์ เกื้อมณี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  18. รศ. ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  19. รศ. ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  20. รศ. ดร.เฉลิมพล สุวรรณภักดี์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  21. ผศ. ดร.อรอุษา คำสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  22. ผศ. ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  23. อ. ดร.คณิณ รุ่งวัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  24. อ. ดร.จรัสวัน วารกานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  25. อ. ดร.ณรงค์ วงศ์กันทรากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  26. อ. ดร.พรสวรรค์ สุทธินนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  27. อ. ดร.มินตา ชัยประสงค์สุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  28. อ. รวีวรรณ ตัณฑวณิช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
  29. ผศ. ดร.อลิสา สจ๊วต มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและเลขานุการ
  30. นายสมบัติ ศรีวรรณงาม มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  31. นางอัจฉรา เมืองครุธ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  32. นางสาวลดาวัลย์ วิภารัตนากร มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  33. นางชาลิสา คล้ายพึ่งสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ระยะเวลาทำการวิจัยและแผนการดำเนินงานตลอดโครงการ

  • วันศุกร์สุดท้ายของเดือนเมษายนทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

รูปแบบการจัดการประชุม

  1. การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (oral presentation) โครงการพิเศษ (Special Project) โครงการปริญญานิพนธ์ (Senior Project) และ/หรือ วิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาตรี (Undergraduate Thesis) ด้านพืชและพันธุศาสตร์ ของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับโครงงานระดับมัธยมศึกษา ด้านพืชและพันธุศาสตร์ ที่ได้รับคัดเลือก
  2. การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (poster presentation) สำหรับโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี และโครงงานระดับมัธยมศึกษา ด้านพืชและพันธุศาสตร์ที่ได้รับคัดเลือก
  3. การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืชและพันธุศาสตร์
  4. การเสวนาพิเศษ เรื่อง พฤกษศาสตร์ศึกษา โดย ครูอาจารย์ระดับมัธยมศึกษา นักการศึกษา ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิตนักพฤกษศาสตร์และพันธุศาสตร์ อาจารย์สาขาวิชาพฤกษศาสตร์และพันธุศาสตร์

วัน เวลา และสถานที่

  • วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 8.30-17.30 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom ลิงค์การประชุม https://zoom.us/my/turfpag2022

เวลา

กิจกรรม

08.15-08.30 น.

ลงทะเบียน

08.30-08.45 น.

พิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 และ
การประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืช และพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3
โดย ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล
รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.อลิสา สจ๊วต และ นายโยธิน จูประสงค์ (ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล)

08.45-09.00 น.

ถ่ายภาพหมู่

09.00-10.00 น.

การบรรยายพิเศษ “อิทธิพลของแสงเทียมต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช”
รศ. ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี
ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ
อาจารย์ประจำ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

10.00-11.00 น.

การนำเสนอผลงานแบบบรรยายช่วงที่ 1

 

10.00-10.10 น.

OG1-โครงสร้างหมู่ไม้และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องของป่าเสม็ดขาวของสวนพฤกษศาสตร์ระยอง
ธัญญลักษณ์ ภูธนะกูล สรัญญา วัชโรทัย และ เอกพันธ์ ไกรจักร์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

10.10-10.20 น.

OG2-อนุกรมวิธานของ Huperzia serrata ชนิดเชิงซ้อนในประเทศไทย
ชนชนม์ ชูเชื้อ และ รสริน พลวัฒน์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

10.20-10.30 น.

OG3-สำรวจความหลากหลายของพืชในอุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี จังหวัดเชียงใหม่
พรหมพร นุ่มเออ ทยา เจนจิตติกุล และ สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

10.30-10.40 น.

OG4-จุลสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเนื้อเยื่อผิวของกลีบดอกกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium spp.)
วรนาถ วรรณรักษ์ คณิณ รุ่งวัฒนา และ พรสวรรค์ สุทธินนท์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

10.40-10.50 น.

OG5-การผลิตเมล็ดเทียมเพื่อการอนุรักษ์ต้นปุดเดือนโดยใช้ส่วนลำต้น
พชรวรรณ สอนโยธา โรจนกร เชิงปัญญา และ งามนิจ ชื่นบุญงาม
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

11.00-12.00 น.

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Breakout Rooms)

 

 

Po1-การศึกษาเปรียบเทียบกายวิภาคศาสตร์และปริมาณสารสำคัญของบัวบกที่ปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน
รังสิมันตุ์ ชัยเชียงเอม เบญญา มะโนชัย และ อรอุษา คำสุข
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

Po2-กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของรากไมคอร์ไรซาในกล้วยไม้รองเท้านารีถิ่นใต้ (Paphiopedilum spp.) สองชนิดในประเทศไทย
อนวัช ผาดไพบูลย์ คณิณ รุ่งวัฒนา และ พรสวรรค์ สุทธินนท์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

Po3-การศึกษาการสืบพันธุ์ของบอนในสกุลโคโลคาเซียบางชนิดในประเทศไทย
ฐานพัฒน์  แก้วจันทรา และ ลภัสรดา อบสุวรรณ
โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย

 

 

Po4-การปรับสภาพเส้นใยเซลลูโลสจากกาบมะพร้าวด้วยโซเดียม
ไฮดรอกไซด์เพื่อการบำบัดน้ำเสียจากกิจกรรมซักผ้า
ขวัญนภา อุระแสง และ ณัฐวรา จุละเพชร์
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.00 น.

การนำเสนอผลงานแบบบรรยายช่วงที่ 2

 

13.00-13.10 น.

OG6-ผลของแบคทีเรีย PGPR เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค
     วิภาวดี พนมไพรรัตน์ สุพจน์ กาเซ็ม และ มินตา ชัยประสงค์สุข
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

13.10-13.20 น.

OG7-ผลของ 6-benzylaminopurine ต่อการเพิ่มจำนวนยอดฟ้าทะลายโจรโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     มานพ กูเปี้ย และ ณรงศ์วงค์ กันทรากร
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

13.20-13.30 น.

OG8-การเปลี่ยนแปลงทางเซลล์พันธุศาสตร์ระหว่างกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืช: กรณีศึกษาในต้นบอนประดับ (Colocasia esculenta (L.) Schott)
     วิภาดา สุขแสนศรี และ พวงผกา อัมพันธ์จันทร์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

13.30-13.40 น.

OG9-ผลของสารสกัดหยาบจากพลูและช้าพลูต่อการยับยั้งเชื้อราในโรคทุเรียน
     ธนพร หอมสุวรรณ ฉัตรชัย เงินแสงสรวย และ มินตา ชัยประสงค์สุข
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

13.40-13.50 น.

OG10-การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการของโปรตีนเอฟเฟคเตอร์ของเชื้อไฟทอป-ธอร่า สาเหตุโรครากเน่าทุเรียน
     ชัยวัฒน์ ทวีไทย และ วิษุวัต สงนวล
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

13.50-14.00 น.

OG11-การศึกษาระยะเวลาการเจริญของหลอดเรณูภายในก้านเกสรเพศเมีย ที่ส่งผลต่อการติดผลของทุเรียนพันธุ์ “หมอนทอง”
     จุติกานต์ อุตตะโมท วีรศิลป์ สอนจรูญ และ คณพล จุฑามณี
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

14.00-14.10 น.

OJ1-ผลของไมโครพลาสติกต่อการเจริญเติบโตของไข่น้ำ (Wolffia globosa)
     คณพศ ถิ่นหนองจิก ชวิน คุโรปกรณ์พงษ์ ชคัตตรัย สุขก้องวารี พรรษ วติวุฒิ พงศ์ และ พิมพ์ศิริ ด่านพิษณุพันธุ์
โรงเรียนกำเนิดวิทย์ ระยอง

 

14.10-14.20 น.

OJ2-ประสิทธิภาพของเชื้อรา Chaetomium globosum ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora สาเหตุโรคเน่าเละในคะน้า 
     ญาณพิชญ์ ธีรฉัตรวัฒน์ นภัส ธรรมกิจจาธร ณัชชา แสงแก้วและ อรวรรณ ปิยะบุญ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม

 

14.20-14.30 น.

OJ3-เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตของข้าวไรซ์เบอร์รี่จากนาโนซิงค์ออกไซด์ และการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จากน้ำหมักชีวภาพ
     ภัคนันท์ แก้วมณี ก้องตะวัน สงวนวงค์ อนิวรรตน์ ศรีธาราธิคุณ และ จิรวัฒน์ วโรภาษ
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

 

14.30-14.40 น.

OJ4-การศึกษาการเจริญเติบโตของไรโซเบียมในขึ้นฉ่าย
     ฐิติพร โสภณคูณทอง ศิริยาภรณ์ แพงโสดา อัจฉริยา ใจยา และ จิรวัฒน์ วโรภาษ
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

15.00-15.15 น.

พักตามอัธยาศัย

15.15-16.15 น.

การเสวนาจากรุ่นพี่สามสถาบัน “TuRFPaG Club: Three Beans’ Talk”
ผศ. ดร.วาสินี พงษ์ประยูร (CU)
นายยศพล หาญวณิชย์เวช (KU)
นางสาวญาณิศา แสงสอดแก้ว (MU)
ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.วิษุวัต สงนวล และ ผศ. ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล

16.15-16.45 น.

ประกาศรางวัล และพิธีปิดงานประชุมวิชาการ
ประธานในพิธีฯ
รศ. ดร.พลังพล คงเสรี
คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล