ครบรอบ 25 ปี เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 23
ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระหว่าง วันที่ 24-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
- หลักการและเหตุผล
ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ เป็นภาพศิลป์ที่มีรูปแบบแตกต่างออกไปจากงานจิตรกรรมประเภทอื่น และใช้งานเพื่อให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ครอบคลุมหลายสาขาทางวิทยาศาสตร์ เช่น การศึกษาพืช แมลง ปลา นก หอย ซากดึกดำบรรพ์ ดวงดาว โบราณวัตถุ รวมไปถึงอวัยวะในร่างกายมนุษย์ และอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อใช้ในการจัดทำเอกสาร ตำรา และประกอบบทความในลักษณะต่างๆ ซึ่งถึงแม้ว่าเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพจะก้าวหน้าไป แต่ภาพวาดก็ยังคงเป็นที่ต้องการ เพราะกระบวนการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ เป็นการประมวลความรู้ กลั่นกรองข้อมูลออกมาเป็นภาพ อาจกล่าวได้ว่าผลงานภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยชิ้นหนึ่ง และมีคุณค่าเทียบเท่ากับตำราในเรื่องนั้นๆ ได้เลยทีเดียว ผู้วาดต้องศึกษาตัวอย่างต้นแบบอย่างรอบด้าน สร้างสรรค์ขึ้นจากข้อมูลจริง และแสดงออกมาเป็นภาพที่ถูกต้อง แม่นยำ และสวยงาม ปัจจุบันภาพวาดทางวิทยาศาสตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง และเป็นที่ต้องการ ทั้งในแวดวงวิชาการ และเพื่อสุนทรียะ
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำคัญของภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงได้เปิดสอนวิชานิทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Illustrations) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อปีการศึกษา 2541 และเล็งเห็นว่ายังมีนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ข้าราชการ และประชาชนอีกหลากหลายอาชีพที่มีความสามารถและสนใจใคร่เรียนรู้วิชาสาขานี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ฯ ร่วมกับวิทยากรจากเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ จึงได้ริเริ่มจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ขึ้น ต่อเนื่องนับจากนั้นมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 23
ทั้งนี้ในปีนี้เป็นปีที่ครบรอบการก่อตั้งเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ฯ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การอบรมและเผยแพร่แนวทางการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวิธีการนำเสนอข้อมูลให้สวยงามตามหลักศิลปะ และในขณะเดียวกันก็ช่วยเปิดมุมมองด้านวิทยาศาสตร์ให้กับศิลปิน เพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกันในการสร้างสรรค์ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานสูงในระดับนานาชาติ - วัตถุประสงค์การอบรม
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม- อธิบายความสำคัญและหลักการการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ได้
- ฝึกทักษะการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ด้วยดินสอ ดินสอสี หมึก และสีน้ำ
- สร้างสรรค์ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้ในระดับเบื้องต้น
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล - รูปแบบการอบรม
ประกอบด้วยภาคบรรยายและการฝึกปฏิบัติ - คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
- คุณสมบัติ
- นักวิทยาศาสตร์ ครูอาจารย์ นิสิตนักศึกษาและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการเรียนการสอนและการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ
- ศิลปิน จิตรกร ครูอาจารย์ด้านศิลปะ ที่มีความสนใจ และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ
- ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างจากหน่วยงานภาครัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาให้เข้ารับการอบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา และสามารถเบิกค่าลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้ หรือ
- ผู้สนใจทั่วไป
- จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 20 คน
- สถานที่อบรม
ห้องปฏิบัติการ N300 ชั้น 3 อาคารชีววิทยาใหม่ (N) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร. 0-2201-5240 - หลักสูตรการอบรม
- หลักการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
- อุปกรณ์และขั้นตอนการวาดภาพ
- การร่างภาพ และลงแสง-เงา
- เทคนิคการลงหมึก
- เทคนิคการใช้สีน้ำ
- ลิขสิทธิ์ และวิธีการเก็บรักษาผลงาน
- วิทยากรให้การอบรม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ศักดิ์ สุกแก้วมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- คุณอรวรรณ สังวรเวชภัณฑ์ เครือข่ายวิทยสานศิลป์
- คุณชัยวัฒน์ คุณพาณิชอนันต์ เครือข่ายวิทยสานศิลป์
- ค่าใช้จ่าย
ค่าลงทะเบียนรวมค่าอุปกรณ์ อาหารกลางวัน อาหารว่าง ท่านละ 5,500.- บาท
โปรดชำระเข้า บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาศิริราช
เลขที่บัญชี 0162103223
และโปรดส่งสำเนาการโอนเงินมาที่ email: chalisa.kra@mahidol.edu, sombat.sri@mahidol.edu ภายใน 24 ชม. หลังจากลงทะเบียน หากพ้นกำหนด จะถือว่าท่านสละสิทธิ์
โปรดตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ bit.ly/3w6nlZR - กำหนดการ
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 10.00 น. การบรรยาย เรื่อง ความสำคัญและหลักการการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
10.00 – 10.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.20 – 11.00 น. แบบฝึกหัด 1 – การร่างภาพ ลงแสง-เงาเบื้องต้น
11.00 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง ขั้นตอนการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. แบบฝึกหัด 2 – การร่างภาพ ลงแสง-เงาตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์
14.30 – 14.50 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.50 – 16.00 น. การบรรยาย เรื่อง การเลือกตัวอย่างและมุมมองในการภาพวาดทางวิทยาศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
09.00 – 10.00 น. วิจารณ์ภาพ
แบบฝึกหัด 4 – การร่างภาพแบบภาคสนาม
10.00 – 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 – 11.30 น. แบบฝึกหัด 5 – การร่างภาพตัวอย่างที่สนใจ
11.30 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง วิธีการลอกลายและลงหมึก
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.40 น. แบบฝึกหัด 5 – การลงหมึก
14.40 – 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 – 16.00 น. แบบฝึกหัด 5 – การลงหมึก (ต่อ)
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
08.50 – 09.00 น. เตรียมอุปกรณ์สีน้ำ
09.00 – 10.00 น. วิจารณ์ภาพ
แบบฝึกหัด 6 – การใช้พู่กันและการผสมสีน้ำ
10.00 – 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 – 10.30 น. การบรรยาย เรื่อง ขั้นตอนการลงสีน้ำ
10.30 – 12.00 น. แบบฝึกหัด 7 – ฝึกปฏิบัติการลงสีน้ำ
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. แบบฝึกหัด 7 (ต่อ)
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 15.50 น. วิจารณ์ภาพ
15.50 – 16.00 น. ถ่ายภาพ และปิดการอบรม