ปริญญาโท

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช
(หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๑

คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการพืช)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร: หลักสูตรระดับปริญญาโท (ภาษาอังกฤษ)

การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้ถ่ายทอดความรู้ และนักวิชาการทางวิทยาการพืช
นักวิจัยทางวิทยาการพืชตามสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันต่าง ๆ
เป็นตัวแทนส่งเสริมการขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ วัสดุเคมี และอุปกรณ์ของบริษัทต่าง ๆ

หลักสูตร

         จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

          โครงสร้างหลักสูตร

๑) หมวดวิชาบังคับ ๑๒ หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
๓) วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
     

รายวิชาในหลักสูตร                

หมวดวิชาบังคับ  ๑๒ หน่วยกิต (หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง))

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วทคร ๕๑๖ ชีวสถิติ ๓ (๓-๐-๖)
SCID 516 Biostatistics
วทคร ๕๑๘ ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ๑ (๑-๐-๒)
SCID 518 Generic Skills in Science Research
วทพฤ ๕๖๒ วิทยาการพืชบูรณาการ ๒ (๑-๒-๓)
SCPL 562 Integrative Plant Sciences
วทพฤ ๖๗๒ สัมมนาทางวิทยาการพืช ๑ ๑ (๑-๐-๒)
SCPL 672 Seminar in Plant Sciences 1
ภกภพ ๖๑๒ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์แหล่งพันธุกรรมพืชสมุนไพร   ๓ (๓-๐-๖)
PYPB 612 Conservation and Utilization of Medicinal Plant Genetic Resources
 ภกภพ ๖๒๑ เภสัชพฤกษศาสตร์บูรณาการ ๒ (๑-๒-๓)
PYPB 621 Integrative Pharmaceutical Botany

หมวดวิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต  โดยเลือกจากรายวิชาดังนี้

   หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วทพฤ ๕๐๑ พฤกษอนุกรมวิธานขั้นสูง ๓ (๒-๓-๕)
SCPL 501 Advanced Plant Taxonomy
วทพฤ ๕๐๒ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ๓ (๒-๓-๕)
SCPL 502 Ethnobotany
วทพฤ ๕๐๓ ชีววิทยาเรณู ๓ (๒-๓-๕)
SCPL 503 Pollen Biology
วทพฤ ๕๑๑ สารควบคุมทางชีววิทยาของพืช ๒ (๒-๐-๔)
SCPL 511 Plant Bioregulators
วทพฤ ๕๒๑ พันธุศาสตร์ของเซลล์พืช ๓ (๒-๓-๕)
SCPL 521 Plant Cytogenetics
วทพฤ ๕๒๒ ชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืชขั้นสูง ๓ (๓-๐-๖)
SCPL 522 Advanced Plant Molecular Biology
วทพฤ ๕๒๓ เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืช ๓ (๑-๖-๓)
SCPL 523 Techniques in Plant Molecular Biology
วทพฤ ๕๒๔ การกลายพันธุ์ในพืช ๓ (๓-๐-๖)
SCPL 524 Plant Mutation
วทพฤ ๕๔๑ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขั้นสูง ๓ (๓-๐-๖)
SCPL 541 Advanced Plant Tissue Culture
วทพฤ ๕๔๓ พฤกษเคมีขั้นสูง ๓ (๒-๓-๕)
SCPL 543 Advanced Phytochemistry
วทพฤ ๕๔๔ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขั้นสูง ๑ (๐-๓-๑)
SCPL 544 Advanced Technique in Plant Tissue Culture
*วทพฤ ๕๖๓ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชและจุลชีพ ๓ (๓-๐-๖)
SCPL 563 Plant-microbe interaction
*วทพฤ ๕๖๔ การส่งเสริมการเติบโตพืช ๓ (๒-๓-๕)
SCPL 564 Plant Growth Promotion
วทพฤ ๕๗๑ หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางวิทยาการพืช ๒ (๒-๐-๔)
SCPL 571 Current Topics in Plant Sciences
*วทพฤ ๕๗๒ สถิติประยุกต์เพื่อวิทยาการพืช ๑ (๑-๐-๒)
SCPL 572 Applied Statistics for Plant Science

 

*วทพฤ ๖๐๑ การวิจัยทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
SCPL 601 Advanced Botanical Research
*วทพฤ ๖๐๒ ทักษะทางการถ่ายทอดความรู้ทางพฤกษศาสตร์ ๑ (๐-๒-๑)
SCPL 602 Skill in Botanical Knowledge Transfer
 วทพฤ ๖๑๑ การปรับตัวของพืชในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ๒ (๒-๐-๔)
SCPL 611 Plant  Adaptation to Environmental Changes
วทพฤ ๖๒๑ พันธุศาสตร์ของพืชขั้นประยุกต์ ๒ (๒-๐-๔)
SCPL 621 Applied Plant Genetics
วทพฤ ๖๗๑ ปัญหาพิเศษทางวิทยาการพืช ๒ (๑-๓-๓)
SCPL 671 Special Problems in Plant Sciences
ภกภพ ๖๐๑ การแพทย์แผนไทย ๓ (๓-๐-๖)
PYPB 601 Traditional Thai Medicine
ภกภพ ๖๐๔ พฤกษศาสตร์พื้นบ้านทางการแพทย์ ๓ (๒-๓-๕)
PYPB 604 Medical Ethnobotany
ภกภพ ๖๐๗ การพัฒนายาจากสมุนไพร ๓ (๒-๓-๕)
PYPB 607 Development of Herbal Medicine
ภกภพ ๖๑๐ หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางเภสัชพฤกษศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)
PYPB 610 Current Topics in Pharmaceutical Botany
 ภกภพ ๖๒๒ การสร้างและจัดการฐานข้อมูลพืช ๓ (๒-๓-๕)
PYPB 622 Plant Database Construction and Management
ภกวพ ๖๙๕  เทคโนโลยีชีวภาพประยุกต์ด้านพืชทางเภสัชศาสตร์ ๓ (๒-๓-๕)
PYPH 695 Applied Plant Biotechnology in Pharmaceutical Sciences

วิชาเลือกนอกคณะ

PYPG 667 Phytochemistry 3(3-0-6)

สารอินทรีย์เคมีและกลุ่มสารต่าง ๆ ในพืชที่มีคุณสมบัติทางชีวภาพ คุณสมบัติทางเคมี เทคนิคการแยกสารจากพืช ชีวสังเคราะห์ การพิสูจน์สูตรโครงสร้างโดยเฉพาะวิธีทางสเปคโทสโคปี ประโยชน์ทางยาของสารสำคัญดังกล่าว และความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพ

Contact: Assist. Prof. Dr. Veena Nukoonkan (veena.nuk@mahidol.ac.th)

 

นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาตามกลุ่มวิชาข้างต้น และรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยหรือตามความสนใจในหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ภายใต้คำแนะนำและความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา

วิทยานิพนธ์

วทพฤ/ภกภพ  ๖๙๘  วิทยานิพนธ์                                                                           ๑๒ (๐-๓๖-๐)

SCPL/PYPB   698 Thesis

  

โครงการวิจัยของหลักสูตร

     แนวทางการทำวิจัยของหลักสูตร

๑. ชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืช

๒. เซลล์พันธุศาสตร์พืช

๓. สรีรวิทยาพืช

๔. อนุกรมวิธานพืช

๕. เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช

๖. การวิจัยสารต้านเชื้อ

๗. การอนุรักษ์และการพัฒนาการอย่างยั่งยืนของพืช

๘. พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

๙. มาตรฐานสมุนไพรไทย

๑๐. ฐานข้อมูลพืชสมุนไพร

๑๑. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพร