พืชในสกุล​ #กำเบ้อ​ (#Gagnepiania)​ มี​ 2​ ชนิด​ แต่คล้ายกันมาก​ ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องคือ
G. godefroyi (Baill.) K. Schum. ดอกสีขาว และ
G. harmandii (Baill.) K. Schum. ดอกสีเขียว

ผลการศึกษาเซลล์พันธุศาสตร์และเรณูของกำเบ้อโดย
#ปารเมษฐ์_มูลแก้ว​  รศ. ดร. พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ ผศ. ดร. ทยา เจนจิตติกุล  และนายณัฐพล นพพรเจริญกุล ​ #ภาควิชาพฤกษศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ ช่วยให้นักพฤกษศาสตร์สามารถระบุกำเบ้อทั้งสองชนิดได้อย่างชัดเจน

 พืชสกุลผีเสื้อน้อย (Gagnepainia K. Schum.) วงศ์ขิง ปัจจุบันพบในประเทศไทยสองชนิด คือผีเสื้อน้อย (G. godefroyi (Baill.) K. Schum.) และ ผีเสื้อเขียว (G. harmandii (Baill.) K. Schum.) ทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรใช้ในการรักษาบาดแผล และอาการอักเสบ ประกอบกับมีดอกจานวนมาก ลักษณะคล้ายผีเสื้อดูสวยงาม จึงมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพืชสมุนไพร และเป็นไม้ประดับที่สวยงามได้ อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทางด้านเซลล์วิทยาและการสืบพันธุ์ของพืชสกุลผีเสื้อน้อย 

การศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านเซลล์วิทยาและการสืบพันธุ์ดังนี้ (1) เทคนิคการย้อมสีโครโมโซมด้วย aceto-orcein จะให้ผลไม่ชัดเจนทั้งผีเสื้อน้อยและผีเสื้อเขียวเนื่องจากโครโมโซมและไซโตพาสซึมติดสีเหมือนกันแยกกันไม่ได้ชัดเจน จะต้องย้อมด้วยสีฟลูออโรโครม DAPI จึงจะเห็นลักษณะการจับคู่ของโครโมโซมชัดเจน (2) พืชสกุลผีเสื้อน้อยทั้งสองชนิดมีจานวนโครโมโซม 2n = 30 และจานวนโครโมโซมพื้นฐาน x = 15 เป็นการพบครั้งแรกและเป็นจานวนโครโมโซม จานวนใหม่ของพืชวงศ์ขิง (3) ขนาดยีโนมและเรณูที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะที่ใช้ในการจาแนกผีเสื้อน้อยและผีเสื้อเขียวได้ (4) พืชทั้งสองชนิดมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาให้เป็นพืชสมุนไพรทางการค้า และพืชกระถางประดับโดยการปรับปรุงพันธุกรรม เช่น การชักนาให้เกิดพืชพอลิพลอยด์ (5) การศึกษาครั้งนี้ ให้ข้อมูลคุณลักษณทางเซลล์พันธุศาสตร์ ที่ไม่เพียงแต่ใช้ในการจาแนกชนิด แต่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ทาให้เข้าใจ ความสมบูรณ์พันธุ์ ที่จะนาไปใช้ในการวางยุทธศาสตร์สาหรับการอนุรักษ์พันธุ์พืชทั้งแบบในและนอกถิ่นอาศัย การบริหารจัดการทรัพยากรพันธุกรรมพืช และการปรับปรุงพันธุกรรมพืช

This image has an empty alt attribute; its file name is gagnep-1.jpg
This image has an empty alt attribute; its file name is gagnep-2.jpg
This image has an empty alt attribute; its file name is gagnep-3.jpg

วิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การวิเคราะห์พันธุกรรมพืชดอกหายากและใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย และผลกระทบต่อกระบวนการถ่ายละอองเรณู” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (CEB) ดาเนินการวิจัยเป็นหลักที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ. ดร. พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ ผศ. ดร. ทยา เจนจิตติกุล นายปารเมษฐ์ มูลแก้ว นักศึกษาระดับปริญญาตรี และนายณัฐพล นพพรเจริญกุล นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

Cytogenetic and pollen identification of genus Gagnepainia (Zingiberaceae) in Thailand Paramet Moonkaew Nattapol Nopporncharoenkun Thaya Jenjittikul Puangpaka Umpunjun* Comparative Cytogenetics 2020, 14(1):11-15. 

ปารเมษฐ์เป็นบัณฑิตระดับปริญญาตรีจากหลักสูตร​ วท.บ.​ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์​
ผลงานของปารเมษฐ์และคณะผู้วิจัย​ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร​ #Comparative_Cytogenetics และออนไลน์แล้วที่
https://compcytogen.pensoft.net/article/47346/