ตีนฮุ้งดอยเป็นพืชหายากในสกุล Paris L. ที่มีคุณค่าทางสมุนไพรสูง อยู่ในวงศ์ Melanthiaceae มีเหง้าใต้ดินที่ใช้ ยับยั้งแบคทีเรีย ลดอาการปวด บวม อักเสบ โดยเฉพาะมีสาร steroidal saponins, dioscin, polyphyllin D, and balanitin 7 ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายชนิด แต่ตีนฮุ้งดอยเป็นพืชที่เติบโตช้ามาก และมีการนาตีนฮุ้งดอยออกจากป่ามากที่สุดเท่าที่หาได้เพื่อการค้าอย่างผิดกฏหมาย ทาให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และพบข้อมูลการศึกษาทั่วโลกน้อยมาก 

ผลการศึกษาได้ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อใช้ในการระบุชื่อ การปรับปรุงพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการนาไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นสากล พบว่า พืชสกุล Paris ที่ทาการศึกษามีความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม พบพืชดิพลอยด์ (2n=2x=10: A-F) ทริพลอยด์ (2n=3x=15: G-H) และ เตตราพลอยด์ (2n=4x=20 I-J) ซึ่งพืชที่มีระดับพลอยดี้สูงกว่าจะมีความต้านทานต่อสิ่งแวดล้อม และให้ผลผลิตที่สูงกว่าพืชที่มีพลอยดี้ต่ากว่า 

 งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การศึกษาวิจัยตีนฮุ้งดอยสมุนไพรหายากเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ. สธ.) สานักงานคณะกรรมการวิจัยห่งชาติ (วช.) และ สานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (CEB, Erasmus Mundus Scholarship 2018 โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ ดาเนินการวิจัยเป็นหลักที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ. ดร. พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ และ ดร. เจนนี่ เจา ขณะนั้นเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. ธิดารัตน์ พ่วงไพโรจน์ อาจารย์ประจาภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และ Prof. Dr. Kesara Anamthawat Jonsson: Professor of Plant Genetics, Faculty of Life and Environmental Sciences, Shool of Engineering and Natural Sciences, University of Iceland. 

Karyotypic and molecular cytogenetic characterization of diploid and polyploid accessions of medicinal herbs in the genus Paris from northern Thailand Janene Chow Tidarat Puangpairote Kesara Anamthawat-Jónsson Puangpaka Umpunjun* ScienceAsia 2020, 46: 297–307