ดอกดิน (Curcuma candida) พืชออกดอกก่อนใบในวงศ์ขิง เป็นพืชอนุรักษ์ที่อยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ หายากและเป็นพืชเฉพาะถิ่นตามแนวทิวเขาตะนาวศรี (ชายแดนไทย-พม่า) พืชชนิดนี้แรกเริ่มถูกจัดอยู่ในสกุลเปราะ (Kaempferia) ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชตัวอย่างที่เก็บจากพม่า และมีชื่อว่า K. Candida ในปี ค.ศ. 1830 พบดอกดินครั้งแรกในประเทศไทยในปี ค.ศ. 2000 ด้วยลักษณะทางชีววิทยาโมเลกุลที่ชัดเจนจึงถูกย้ายไปอยู่ในสกุลกระเจียว (Curcuma)
การศึกษาทางเซลล์พันธุศาสตร์แสดงให้เห็นว่าพืชชนิดนี้มีความคล้ายคลึงใกล้ชิดกับพืชดิพลอยด์ในสกุลกระเจียวที่มีจานวนโครโมโซม 2n = 2x = 42 และมีการจับคู่ของโครโมโซมคู่เหมือนเป็นไบวาเลนท์ปกติ ดังนั้นในทางชีววิทยา ดอกดินมีความสมบูรณ์พันธุ์เพียงพอที่จะกระจายพันธุ์ให้เกิดประชากรขนาดใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชชนิดนี้มีโอกาสในการกระจายพันธุ์โดยอาศัยเพศน้อยมาก ในต้นฤดูออกดอก (ต้นฤดูฝน) คนในท้องถิ่นจะเก็บดอกเพื่อเป็นอาหารและเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ทาให้พืชสร้างผล และเมล็ดไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุทาให้พืชชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ยังคงพบพืชนี้เฉพาะในแหล่งธรรมชาติที่ห่างไกลที่คนไปไม่ถึง การศึกษาภาคสนามระหว่าง เมษายน ค.ศ. 2013 ถึง พฤษภาคม ค.ศ. 2017 เราพบว่าพื้นที่อาศัยของดอกดิน เปลี่ยนเป็นแปลงเพาะปลูกทางเกษตร ประชากรพืชที่เคยพบบางแหล่งหายไป และคนในท้องถิ่นบางคนได้นาพืชนิดนี้มาปลูกไว้ที่บ้าน ผลการศึกษาทางเซลล์พันธุศาสตร์จะบ่งบอกระดับพลอยดี้ และความสมบูรณ์พันธุ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางยุทธศาสตร์ ในการอนุรักษ์พืชทั้งแบบในและนอกถิ่นอาศัย ผลงานวิจัยนี้ได้ส่งเสริมให้มีการตื่นตัวในการอนุรักษ์ เพื่อการใช้ประโยชน์จากดอกดินอย่างยั่งยืนในอนาคตอันใกล้นี้
งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การวิเคราะห์พันธุกรรมพืชดอกหายากและใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย และผลกระทบต่อกระบวนการถ่ายละอองเรณู” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (CEB) ทุนเรียนดีแห่งประเทศไทย และ Erasmus Mundus Scholarship 2015-2017 โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ ดาเนินการวิจัยเป็นหลักที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ ผศ. ดร. ทยา เจนจิตติกุล ผศ. ดร. งามนิจ ชื่นบุญงามและ นายณัฐพล นพพรเจริญกุล นักศึกษาระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Kesara Anamthawat Jonsson: Professor of Plant Genetics, Faculty of Life and Environmental Sciences, Shool of Engineering and Natural Sciences, University of Iceland.
Cytogenetic verification of Curcuma candida (Zingiberaceae) from Thailand and Myanmar
Nattapon Nopporncharoenkul Thaya jenjittikul Ngamnij Chuenboonngarm Kesara Anamthawat-Jonsson Puangpaka Umpunjun* Thai Forest Bulletin 2020, 48(1): 7-17